รายละเอียดบทคัดย่อ


สุนทร บูรณะวิริยะกุล และอรรถชัย จินตะเวช. 2548. การใช้แบบจำลองประเมินวันปลูกและประมาณผลผลิตข้าวในระดับไร่นาที่บ้านห้วยแก้วจังหวัดเชียงใหม่ .  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 3 :สู่ระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัย สร้างมูลค่าเพิ่ม และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2547  ณ โรงแรมปางสวนแก้ว จ. เชียงใหม่.  น.452-460.

บทคัดย่อ

         วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ก็เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการประมาณผลผลิตข้าวในระดับไร่นาโดยการเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้จากที่เก็บจากแปลงเกษตรกรและแบบจำลอง ตัวอย่างข้าวเก็บจากหมู่บ้านห้วยแก้ว ต. แม่แฝก อ. สันทราย จ. เชียงใหม่ ซึ่งมีดินเป็นชนิด sandy loam เก็บตัวอย่างข้าวสามพันธุ์คือ สันป่าตอง1 (สปต1) (n=93) หอมสกลนคร (n=7) และ กข 6 (n=8) ในปี 2545 เกษตรกรส่วนใหญ่ย้ายกล้าในเดือนกรกฎาคม ผลผลิตของ สปต1 มีค่าตั้งแต่ 399-868 กก./ไร่ เฉลี่ยได้ 607 (SD= 112) ขณะที่สกลนคร และ กข 6 เฉลี่ยได้ 461 (SD= 107) และ 516 (SD= 156) กก./ไร่ ตามลำดับ ความแตกต่างของผลผลิตเนื่องมาจากวันปลูกที่แตกแตกต่างกันและปริมาณปุ๋ยที่ใช้ ในปี 2546 จำนวนตัวอย่างมีน้อย (1-3) โดยพันธุ์ สปต1 มีค่าเฉลีย 582 กก./ไร่ และ 379 สำหรับพันธุ์ กข6 ในกรณีที่มีตัวอย่างมากพอเพียง ค่าเฉลี่ยสามารถใช้เป็นค่าประมาณของเฉลี่ยของประชากรที่มีการกระจายตัวแบบ normal ของแต่ละพื้นที่ได้ ซึ่งนำไปสู่การคำนวณผลผลิตทั้งประเทศ การเก็บตัวอย่างทั่วประเทศต้องมีค่าใช้จ่ายและใช้เวลามาก ถ้าแบบจำลองสามารถประมาณผลผลิตได้ไม่แตกต่างเกินร้อยละ 10 ของค่าที่คาดการณ์ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลง ผลการใช้แบบจำลอง Ceres-rice ผลผลิตของแปดเดือนโดยใช้ข้อมูลอากาศ 23 ปี ของพันธุ์ สปต1 และสกลนครได้ผลใกล้เคียงกันในทุกเดือน โดยเดือน พ.ค. และ มิ.ย. ให้ผลผลิตสูงสุด (668 660 กก/ไร่ ตามลำดับ) และเป็นเดือนปลูกที่มีผลผลิตสูงกว่าด้วยค่าโอกาส (probability) ที่เท่ากัน ข้อดีของการประมาณโดยการเก็บตัวอย่างคือไม่ต้องการข้อมูลอะไรนอกจากพันธุ์ข้าว ขณะที่แบบจำลองต้องการหลายอย่างโดยเฉพาะวันปลูก การใช้ปุ๋ยและการจัดการอื่น ๆ ที่จะมีผลกระทบกับการผลิต การใช้ค่าเฉลี่ยจากการวิเคราะห์ข้อมูลอากาศหลายปีของเดือนที่เกษตรกรส่วนใหญ่ย้ายกล้าในแต่ละพื้นที่น่าจะให้ค่าที่ดี จากการวิเคราะห์ 23 ปี ให้ค่าเฉลี่ยของเดือนกรกฎาคมเท่ากับ 583 กก. /ไร่