รายละเอียดบทคัดย่อ


ดำริ ถาวรมาศ. . อิทธิพลของการปลูกพืชระบบต่างๆ ที่มีต่อการผลิตขาวโพดและการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการผลิตของดิน.  ใน: รายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการปลูกพืช ครั้งที่ 3 : . ระหว่างวันที่ 17-19 มกราคม 2523 ณ โรงแรมริเวอร์แคว จ.กาญจนบุรี.  น.292-301.

บทคัดย่อ

         ดินชุดลพบุรีซึ่งเป็นดินร่วนเหนียวสีดำ และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณืสูงนั้น เป็นดินชุดหนึ่งซึ่งเหมาะสมในการปลูกข้าวโพด การที่กสิกรในเขตอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์นิยมปลูกพืชอย่างน้อยสองครั้งติดต่อกัน อาทิเช่น การปลูกข้าวฟ่างหรือถั่วเขียว เป็นพืชที่สองหลังข้าวโพดนั้นอาจจะเป็นการอนุรักษ์ดินวิธีหนึ่ง ดังนั้นระบบการปลูกพืชซึ่งมีการปลูกธัญพืชและพืชตระกลูกถั่วมาร่วมกับการปลูกข้าวโพดจึงเป็นสิ่งที่ควรทำการศึกษาในแง่ของการบำรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำการทดลองที่ สล. พร. ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ในดินร่วนเหนียวสีดำ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูง เริ่มทำการทดลองในปีพ.ศ. 2518 และสิ้นสุดในปี 2522 เป็นเวลา 5 ปี นำระบบการปลูกพืช 8 ระบบ ซึ่งมีข้าวโพดเป็นพืชหลักมาทำการทดลองติดต่อกันเพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตข้าวโพดและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลการทดลองในปีที่ 5 พบว่าการปลูกข้าวโพดปีละครั้ง หรือปลูกตามด้วยถั่วเขียวติดต่อกันมาสี่ปีนั้นไม่มีผลในการบำรุงดิน เพราะข้าวโพดได้รับผลผลิตต่ำสุดคือ 493 ก.ก.ต่อไร่ แต่การปลูกสดก่อนหรือหลังการปลูกข้าวโพด ให้ผลผลิตประมาณ 700 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราที่แนะนำติดต่อกันมาสี่ปี ทำให้ผลผลิตของข้าวโพดสูงสุดถึง 853 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้นแทบจะไม่มีเลย โดยเฉพาะปริมาณอินทรียวัตถุของดิน ในช่วงของระยะเวลา 4 ปี เป็นที่ทราบกันแล้วว่าปริมาณของอินทรีย์วัตถุในดินแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อนำระบบการปลูกพืชมาใช้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ทำให้ทราบว่าไม่ควรปลูกข้าวโพดอย่างเดียวปีละครั้ง ติดต่อกัน ควรจะนำเอาพืชตระกูลมาร่วมเพื่อเพิ่มผลผลิตหรือทำเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน