รายละเอียดบทคัดย่อ


เธียรชัย อารยางกูร. . การเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชของดินโดยการใส่ปุ๋ยในระบบปลูกพืชข้าว-ถั่วเหลือง.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 2 :ระบบเกษตรเพื่อการจัดการทรัพยากรและพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ . ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2545  ณ โรงแรมโฆษะ จ. ขอนแก่น.  น.74-85.

บทคัดย่อ

         การทดสอบและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใส่ปุ๋ยในนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบนในปี 2540-2543 เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการปุ๋ยเพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชของดินในระบบปลูกพืชข้าว-ถั่วเหลือง 3 การทดลอง ได้ผลดังนี้ การทดลองการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ในดิน 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม 12-98 ppm จำนวน 44 ราย ปลูกถั่วเหลืองโดยไม่ใส่ปุ๋ย พบว่าการคลุกไรโซเบียม ได้ผลผลิตถั่วเหลือง 259 กก.ต่อไร่ สูงกว่ไม่คลุก 18 เปอร์เซ็นต์ กลุ่ม tracce-11 ppm จำนวน 28 ราย ถั่วเหลืองที่ใส่ปุ๋ย 0-46-0 (20 กก.ต่อไร่) ได้ผลผลิต 260 กก.ต่อไร่ สูงกว่าไม่ใส่ปุ๋ย 13 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่ม 0-12 ppm จำนวน 25 ราย ใส่ปุ๋ย 0-46-0 (20 กก.ต่อไร่) ได้ผลผลิตถั่วเหลือง 277 กก.ต่อไร่ สูงกว่าการใส่ปุ๋ย 16-20-0 12-24-12 และ 15-15-15 (15-30 กก.ต่อไร่) 14 เปอร์เซ็นต์ ได้ผลตอบแทนเพิ่มมากขึ้นทุกกลุ่ม การทดสอบการใส่ปุ๋ยระบบข้าว-ถั่วเหลือง ในดินฟอสฟอรัสต่ำมาก (trace) ปรากฏว่าดินมีฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นหลังการใส่ปุ๋ยนาข้าว คือ ใส่ปุ๋ย 16-20-0 มีค่า 1-2 ppm ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตมีค่า 18-23 ppm ผลการทดสอบปุ๋ยถั่วเหลืองในพื้นที่นาหลังเก็บเกี่ยวข้าว พบว่าถั่วเหลืองที่ไม่ใส่ปุ๋ยให้ผลผลิตเพียง 147-181 กก.ต่อไร่ ต่ำกว่าและแตกต่างทางสถิติ (P<.01) กับแปลงใส่ปุ๋ย 0-46-0 และความแตกต่างนี้ยังเกิดจากอิทธิพลของการใส่ปุ๋ยในนาข้าวก่อนปลูกถั่วเหลืองด้วย คือ แปลงไม่ใส่ปุ๋ยฤดูทำนาได้ผลผลิต 257 กก.ต่อไร่ ใส่ปุ๋ย 16-20-0 (25 กก.ต่อไร่) ได้ 290 กก.ต่อไร่ และใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต (200 กก.ต่อไร่) ได้ผลผลิตสูงที่สุด 345 กก.ต่อไร่ การทดสอบการลดการใช้สารเคมี พบว่าผลผลิตแตกต่างทางสถิติระหว่างชุดปัจจัย คือ ใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) กลบหลุมปลูก หลุมละ 1 กำมือ (300 กก.ต่อไร่) ได้ผลผลิตสูงที่สุด 418 กก.ต่อไร่ รองลงมาคือ กากตะกอนหม้อกรองโรงงานน้ำตลาล (sugar filter cake) กลบหลุมละ 1 กำมือ (250 กก.ต่อไร่) ได้ผลผลิต 380 กก.ต่อไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกร (311 กก.ต่อไร่) ซึ่งปลูกโดยไม่คลุกไรโซเบียม ไม่ใส่ปุ๋ย และปลูกถั่วเหลืองโดยเผาฟางแล้วใช้สารกำจัดวัชพืชหลังงอกต่างกับ 3 ชุดปัจจัยที่คลุมฟาง (mulching) ผลการทดสอบสรุปได้ว่า การเพิ่มการสะสมธาตุอาหารฟอสฟอรัสในดินนาให้สูงตั้งแต่ 12 ppm ขึ้นไป โดยใส่ปุ๋ย 16-20-0 หรือหินฟอสเฟตในนาข้าวอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการเพิ่มศักยภาพการผลิตถั่วเหลืองที่ปลูกในนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าว และรวมทั้งการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กลบหลุมปลูกร่วมด้วย