รายละเอียดบทคัดย่อ


บุญช่วย สงฆนาม, จารุวัฒน์ ภูมิธิ, ฐิติ สินธุนาคร, ชาญวิทย์ ลุศนันทน์, สุขุม ขวัญยืน, ศุภชัย อติชาติ,เศรณี วงศ์คำจันทร์ และ วัชระ เนตรพิชิต. . การวิจัยและพัฒนาการปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้งแหล่ะงปลูกลำน้ำเชิญแบบมีส่วนร่วม.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 2 :ระบบเกษตรเพื่อการจัดการทรัพยากรและพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ . ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2545  ณ โรงแรมโฆษะ จ. ขอนแก่น.  น.147-166.

บทคัดย่อ

         การปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้ง ในบริเวณรอยต่อของจังหวัดขอนแก่นและชัยภูมิ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ปลูกในอำเภภอชุมแพและภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่นและคอนสาร ภูเขียว เกษตรสมบูรณ์ บ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิหรือที่เรียกว่าพื้นที่ลำน้ำเชิญนับเป็นแหล่งปลูกหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีพื้นที่ปลูกในแต่ละปีประมาณ 1.2 แสนไร่ เป็นพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตสูงเนื่องจากมีความพร้อมของปัจจัยพื้นฐานด้านดินและน้ำ กล่าวคือ เป็นพื้นที่มีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูงมีแหล่งน้ำสำคัญ คือ ลำน้ำเชิญ ลำน้ำพรม และเขื่อนจุฬาภรณ์ นอกเหนือจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ การปลูกถั่วเหลืองของเกษตรกรในเขตนี้ปัจจุบันใช้การหว่านเป็นหลัก ซึ่งมีทั้งชนิดเผาและไม่เผาตอซัง แม้ว่าโดยทั่วไปผลผลิตในแหล่งปลูกนี้อยู่ในเกณฑ์สูง แต่ก็ยังมีแนวทางที่จะเพิ่มผลผลิตและผลตอบแทนแก่เกษตรกรได้อีก ปัญหาสำคัญของแหล่งปลูกนี้ คือ เมล็ดพันธุ์ซึ่งมีราคาแพง หายาก คุณภาพไม่แน่นอน การปลูกแบบหว่านเกษตรกรจะใช้อัตราเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 25-35 กก./ไร่ ทำให้เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตและสิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 ได้ทำการวิจัยและทดสอบเพื่อแก้ไขปัญหาในการปลูกโดยเฉพาะการปลูกแบบหว่านไม่ไถเตรียมดิน ไม่เผาฟาง พบว่า การหว่านโดยไม่ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง 15-20 กก./ไร่ มีความเสมาะสมและสามารถลดต้นทุน การผลิตและเพิ่มผลตอบแทนแก่เกาตรกรสูงกว่าวิธีเดิม ส่วนทางเลือกใหม่ในการปลูกถั่วเหลืองโดยใช้เครื่องหยอดชนิด 2 แถว แบบตัวทีหัวกลับ (inverted-T) ก็ให้ผลดี เช่นเดียวกันสามารถลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มผลตอบแทนในการปลูก เกษตรกรให้การยอมรับและมีการขยายผลในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตามการปลูกโดยวิธีหว่านก็ยังมีอีกหลายส่วนที่จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต ขณะที่การใช้เครื่องหยอดถั่วเหลืองก็ยังมีข้อจำกัด เช่น ปัญหาวัชพืชที่ขึ้นในระหว่างแถวซึ่งจำเป็นจะต้องมีการวิจัยเพื่อแก้ไขต่อไป