รายละเอียดบทคัดย่อ


บุญยวาทย์ ลำเพาพงศ์ และคณะ . การสำรวจทรัพยากรที่ดิน : กรณีตัวอย่างของการศึกษาในที่ราบลุ่ม เชียงใหม่-ลำพูน.  ใน: รายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการปลูกพืช ครั้งที่ 4 : . ระหว่างวันที่ 13-16 มกราคม.3 2525 ณ ห้องประชุมสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  น.63-78.

บทคัดย่อ

         พื้นที่นาข้าวในที่ราบลุ่มเชียงใหม่-ลำพูน มีทั้งหมดประมาณ 1 ล้านไร่ และประมาณ 80% เป็นพื้นที่ๆ มีการชลประทาน ได้แก่ โครงการชลประทานราษฎร์ และโครงการชลประทานของรัฐพื้นที่นอกนั้นเป็นเขตได้รับน้ำฝนเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามปรากฎว่าการใช้ที่ดินนาในการทำประโยชน์ทางการเกาตรก็ยังมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีการชลประทาน คือมีการปลูกพืชในฤดูกาลต่างๆ หนาแน่นต่างกัน ชนิดและผลผลิตของพืชต่างกัน จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะทำการสำรวจและศึกษาว่าอะไรเป็นสาเหตุที่สำคัญของความแตกต่างเหล่านั้น ในการศึกษานี้ได้พยายามมองถึงปัจจัยแวดล้อมด้านกายภาพมากกว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และการตลาดดังเช่นลักษณะพื้นที่ ดิน สภาพน้ำ การชลประทาน ลักษณะของแหล่งน้ำลำธาร...... จากผลการศึกษาจึงพอสรุปได้ว่า ปัจจัยทางด้านกายภาพดังกล่าวมีส่วนสำคัญที่ทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินในการเกษตรในปัจจุบันในพื้นที่ราบลุ่มเชียงใหม่-ลำพูน มีลักษณะแตกต่างกันไปตามท้องที่ เช่น พื้นที่บางแห่งเคยปลูกพืชได้ 1 ครั้งต่อปี พอหลังจากโครงการชลประทานรัฐเปิดใช้ การใช้ที่ดินเปลี่ยนมาเป็นการปลูกพืช 2 ครั้งต่อปี บางพื้นที่ในเขตชลประทาน แต่อยู่ปลายเขตได้รับน้ำไม่เพียงพอหรือไม่สม่ำเสมอ ระบบการปลูกพืชไม่ค่อยได้ผล บางพื้นที่มีแหล่งน้ำลำธารดี และยังมีน้ำใต้ดินอยู่ในระดับตื้น นำมาใช้ได้ง่ายจึงมีการปลูกพืชกันอย่างหนาแน่น และสามารถปลูกพืชได้ 3 ครั้งต่อปี แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในเขตโครงการชลประทานของรัฐ บางพื้นที่ได้รับน้ำจากโครงการชลประทานของรัฐและชลประทานราษฎร์ และสามารถปลูกพืชได้ตลอดปี แต่ในทางตรงกันข้ามบางหน่วยพื้นที่โอกาสที่จะได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมีมาก นอกจากนั้นดินก็เป็นปัจจัยสำคัญในบางหน่วยพื้นที่ เช่น เหนียวเกินไป หรือบางแห่งก็แฉะเกินไป ปลูกพืชบางชนิดไม่ได้ผล ดังนั้นผลของการศึกษานี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาถึงศักยภาพและการพัฒนาทางด้านกายภาพของหน่วยงานพื้นที่ต่างๆ อนาคตต่อไป