รายละเอียดบทคัดย่อ


บุญธรรม พรหมณี และคณะ . ระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม และข้อจำกัดในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบบการปลูกพืชในพื้นที่ จังหวัดแพร่ ปี 2523-2524.  ใน: รายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการปลูกพืช ครั้งที่ 4 : . ระหว่างวันที่ 13-16 มกราคม.3 2525 ณ ห้องประชุมสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  น.388-435.

บทคัดย่อ

         ในอดีตที่ผ่านมาเกษตรกรจำบลห้วยม้า อ.เมือง จ.แพร่ มีอาชีพทำการปลูกพืชเป็นอาชีพหลัก พืชที่ปลูกในฤดูฝนคือข้าว และหลังจากการเก็บเกี่ยวในฤดูนาปีปกติเกษตรกรจะทำการปลูกพืชไร่อื่นๆ เช่น ยาสูบ ถั่วเหลือง และถั่วลิสงบ้าง ผลลผิตข้าวทั้งหมดใช้ในการบริโภคในครัวเรือน สำหรับผลผลิตพืชไร่นำไปขายเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในครอบครัว และที่เหลือบางส่วนเก็บไว้ทำพนธุ์บ้าง นอกจากนี้ในช่วงระหว่างเดือน เมษายน-กรกฏาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูทำนาปี เกษตรกรปล่อยพื้นดินให้ว่างเปล่ามิได้ทำการเพาะปลูกพืชอื่นใดเลย และเกษตรกรใช้เวลาที่เหลืออยู่ในระหว่างนี้ไปรับจ้าง และค้าขายนอกหมู่บ้าน ถึงแม้ว่าในช่วงก่อนฤดูทำนาปีปริมาณน้ำฝนเพื่อใช้ในการเพาะปลูกพืชจะมีมากเพียงพอต่อความต้องการของพืชก็ตาม การปล่อยที่ดินไว้โดยที่เกษตรกรไม่ได้ทำการเพาะปลูก จะทำให้เกษตรกรสูญเสียประโยชน์จากที่ดินและแรงงานที่เหลืออยู่ไปเปล่าๆ สำหรับในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี พืชที่เกษตรกรปลูกอยู่เดิมนั้น ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงปลายฤดู เนื่องจากปริมาณน้ำฝนมีน้อย ทำให้พื้นดินแห้งแล้ง ทำให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้การปลูกยาสูบยังประสบปัญหาจากโควต้าที่โรงงานบ่มใบยากำหนดในการรับซื้อและราคารับซื้อถูกกดราคา ซึ่งปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายผลผลิตต่ำและมีหนี้สินทั้งจากสถาบันการเงินและพ่อค้ามากขึ้น