รายละเอียดบทคัดย่อ


เชิดชาติ สมิโตบล . การจัดการดินและน้ำสำหรับถั่วเหลืองฤดูแล้งที่จังหวัดพิจิตร.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.304-310.

บทคัดย่อ

         การทดลองเพื่อการแก้ปัญหา การปลูกถั่วเหลืองในระบบ ข้าว-ถั่วเหลืองของเกษตรกร อ.สามง่าม จ.พิจิตร ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินที่ใช้น้ำใต้ดิน เพื่อการปลูกพืช ได้กระทำที่ต.บึงบัว ต.หนองโสน ระหว่างเดือน ธันวาคม 2531 - เมษายน 2532 จากการจำแนกประเด็นปัญหาการปลูกถั่วเหลือง โดยใช้น้ำชลประทานได้มีการทดลองรวม 5 โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ผลการทลองพบว่า 1. การปลูกถั่วเหลืองเป็นแถว โดยไม่มีการไถพรวนดินด้วยเครื่องปลูก Inverted -T seeder ให้การงอกและการเจริญเติบโตที่สม่ำเสมอ และผลผลิตสูงสุด 2. การเกิดผิวดินแข็ง (Crust) ไม่ได้เป็นปัญหาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลือง การใช้ฟางคลุม (Straw mulch) ทำให้การระบายน้ำไม่ดี และผลผลิตถั่วเหลืองลดลง 3. การปลูกโดยการหว่านบนดินที่มีการไถพรวนตามปกติทั้งวิธี "พิจิตร" และ "สวรรคโลก" ไม่เหมาะสำหรับการปลูกถั่วเหลืองที่ อ.สามง่าม การหว่านด้วยอัตราเมล็ดพันธุ์สูง (25 กก./ไร่) มีแนวโน้มที่จะให้ผลผลิตสูงขึ้น พันธุ์ สจ.5 มีการเจริญเติบโตดีที่สุดในสภาพการหว่านบนดินที่มีการไถพรวนตามปกติ พันธุ์นครสวรรค์ 1 ฝักแตกง่าย พันธุ์เชียงใหม่ 60 ต้นเล็ก สู้วัชพืชไม่ได้ แต่ให้ปริมาณฝัก/ต้นสูงที่สุด 4. เครื่องปลูกชนิด Inverted -T seeder มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เนื่องจากใบมีดเปิดดินคม สามารถเปิดผ่านดินที่ไม่ไถได้สะดวก ระบบป้อนเมล็ดโดยใช้ฟองน้ำช่วยส่งเมล็ดได้สม่ำเสมอ ในอัตรา 15-30 เมล็ด/เมตร และไม่เป็นอุปสรรคต่อการคลุกเชื้อไรโซเบียม 5. สำหรับดินที่ไม่มีการไถพรวน สามารถให้น้ำได้ทั่วพื้นนา โดยใช้น้ำ 6-7 ชม. เทียบกับ 11-12 ชม. สำหรับดินที่มีการไถลึกตามปกติ การให้น้ำ 5 ครั้ง ตลอดฤดูซึ่งเหมาะสำหรับ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย อาจไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของถั่วเหลืองที่ จ.พิจิตร