รายละเอียดบทคัดย่อ


บัญชา สมบูรณ์สุข, ปริญญา เฉิดโฉม, ปรัตถ พรหมมิ และ รจเรข หนูสังข์ . ระบบเศรษฐกิจครัวเรือนในระบบการทำฟาร์มสวนยางขนาดเล็กในภาคใต้ของประเทศไทย.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 3 :สู่ระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัย สร้างมูลค่าเพิ่ม และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2547  ณ โรงแรมปางสวนแก้ว จ. เชียงใหม่.  น.15-23.

บทคัดย่อ

         ระบบการผลิตยางพาราของไทย ผลผลิตส่วนใหญ่มาจากผลผลิตของเกษตรกรชาวสวนยางขนาดเล็ก ดังนั้นการพัฒนาระบบการผลิตยางพาราของไทย จึงจำเป็นต้องพัฒนาตั้งแต่ระดับฐานรากของระบบการผลิต ยางพารา เพื่อยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของครัวเรือน ซึ่งจากการศึกษาระบบเศรษฐกิจครัวเรือนพบว่า การ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางพารา สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางและเป็นทางเลือก ใหม่สำหรับชาวสวนยางในภาคใต้ ซึ่งจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระบบการผลิตร่วมกับพืชแซม (สับปะรด) ระบบ การทำฟาร์มสวนยางร่วมกับไม้ผล (มังคุดและทุเรียน) และระบบการผลิตการทำฟาร์มสวนยางร่วมกับไร่นาสวนผสม (ไม้ผลและเลี้ยงปลา) เป็นระบบที่ทำรายได้ให้กับครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางสูง เมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ ซึ่งใน การตัดสินใจเลือกกิจกรรมใดเพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือนนั้น เกษตรกรต้องพิจารณาปัจจัยทางกายภาพ ชีวภาพ สังคม และเศรษฐกิจ