รายละเอียดบทคัดย่อ


นงลักษณ์ สุพรรณไชยมาตย์, Masuo Ando, ปรีดา ประพฤติชอบ และเพียรศักดิ์ ภักดี . ทางรอดของเกษตรกรในระบบการทำฟาร์มโดยอาศัยน้ำฝนในภาคอีสานตอนบน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 3 :สู่ระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัย สร้างมูลค่าเพิ่ม และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2547  ณ โรงแรมปางสวนแก้ว จ. เชียงใหม่.  น.34-44.

บทคัดย่อ

         พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของอีสานตอนบน มีลักษณะเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ประกอบด้วยนาลุ่ม และ บริเวณที่ดอน ซึ่งเดิมเคยเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันพื้นที่ป่าได้เปลี่ยนเป็นที่เพาะปลูกพืชไร่หลายชนิด แต่ ลักษณะสำคัญที่ยังคงอยู่ คือ ระบบการเพาะปลูกทั้งหมดยังคงอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก และดินยังคงเป็นดินทราย ที่มี ความอุดมสมบูรณ์ต่ำและไม่อุ้มน้ำ การศึกษานี้เป็นตัวอย่างการวิเคราะห์ ระบบการทำฟาร์มในชุมชน บ้านหนองแซง กิ่งอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น โดยได้ประมวลข้อมูลด้านกายภาพ ชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคมของชุมชน จากข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลสำรวจครัวเรือน การประชุมเกษตรกร และการใช้ข้อมูลประจักษ์ พบว่าชุมชนมีการจัดการที่ดิน เพื่อเพิ่มการ ผลิตอย่างเต็มที่ ที่นาลุ่มที่มีประมาณ ร้อยละ 30 ใช้ปลูกข้าวเหนียวเพื่อบริโภคในครัวเรือน ที่ดอนปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย โรงงาน มันสำปะหลัง หรือปล่อยว่างไว้เพื่อเลี้ยงโค ปัจจุบันมีการขุดสระน้ำในไร่นาได้ช่วยเพิ่มเสถียรภาพด้านการ ผลิตพืชอาหารที่สำคัญ จากการสัมภาษณ์เกษตรกร 55 ครัวเรือนในพื้นที่ที่ศึกษา พบว่า เกษตรกรทุกครัวเรือน มีสระ น้ำในไร่นาอย่างน้อยหนึ่งสระ ทั้งจากการช่วยเหลือของทางราชการ และเงินทุนของเกษตรกร มีการใช้ประโยชน์จาก สระหลากหลาย เช่น เป็นแหล่งน้ำเสริมเพื่อทำนา ปลูกไม้ผล ปลูกผัก และเลี้ยงปลา ใช้เป็นแหล่งน้ำดื่มให้สัตว์เลี้ยง ในฤดูแล้ง แต่เมื่อพิจารณาถึงการมีรายได้จากกิจกรรมเหล่านี้ พบว่า ระดับการผลิตโดยอาศัยน้ำจากสระยังคงเป็น เพียงการสร้างแหล่งอาหารให้ครัวเรือนและชุมชน ซึ่งช่วยสร้างถาวรภาพในระบบได้ ทั้งนี้มีเพียง ร้อยละ 20 ของ ครัวเรือนที่สัมภาษณ์ที่สามารถผลิตได้จนเหลือขาย เงื่อนไขที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สระน้ำ คือ ปริมาณน้ำที่มีไม่เพียงพอที่จะผลิตพืชหรือสัตว์ชนิดใดในปริมาณมากๆ ได้ เพราะสระไม่สามารถเก็บน้ำได้ตลอดช่วง ฤดูแล้ง เกษตรกรประหยัดน้ำไว้เพื่อเลี้ยงปลา ตลอดจนเกษตรกรยังมีปัญหาเรื่องการตลาดที่ต้องอาศัยพ่อค้าคน กลาง และตลาดในชุมชนเล็กๆ เป็นหลัก ดังนั้นหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สระน้ำในไร่นาในระดับที่ มากกว่าการยังชีพ เกษตรกรต้องได้รับการสนับสนุนข้อมูลด้านเทคนิคการผลิตพืชชนิดต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อย และการ รวมกลุ่มเพื่อการตลาด