รายละเอียดบทคัดย่อ


ไพทูล แก้วหอม, ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ และ รณชัย สิทธิไกรพงษ์ . การเสริมไคโตซานในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่เนื้อ.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 3 :สู่ระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัย สร้างมูลค่าเพิ่ม และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2547  ณ โรงแรมปางสวนแก้ว จ. เชียงใหม่.  น.135-143.

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมไคโตซานในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่เนื้อ โดยศึกษาอาหาร 6 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 อาหารควบคุม กลุ่มที่ 2 อาหารควบคุมเสริมด้วยยาปฏิชีวนะ (คลอเตตราซัยคลิน 50 ppm) กลุ่มที่ 3 4 5 และ 6 เป็นอาหารควบคุมเสริมด้วยไคโตซานที่ระดับ 200, 300, 400 และ 500 ppm ตามลำดับ โดยใช้ไก่เนื้ออายุ 1 วันจำนวน 1,200 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (ตามอาหารทดลอง) กลุ่มละ 4 ซ้ำๆ ละ 50 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดแบบสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) ผลการทดลองพบว่าการเสริมไคโตซานในอาหารมากกว่า 300 ppm ทำให้น้ำหนักเพิ่มและอัตราการเจริญเติบโตที่ช่วงอายุ 0-3 สัปดาห์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่เมื่อสิ้นสุดการทดลองการเสริมไคโตซานไม่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิต อัตราการรอดชีวิตและต้นทุนค่าอาหารในการเพิ่มน้ำหนักแต่มีแนวโน้มว่าต้นทุนค่าอาหารในการเพิ่มน้ำหนักจะสูงขึ้นเมื่อระดับการเสริมไคโตซานในอาหารเพิ่มขึ้น และสำหรับกลุ่มที่เสริมยาปฏิชีวนะก็ให้ผลที่ไม่แตกต่างกับกลุ่มที่เสริมไคโตซาน ระดับการเสริมไคโตซานที่เหมาะสมที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะได้คือที่ระดับ 300 ppm