รายละเอียดบทคัดย่อ


สุรพงษ์ เจริญรัถ, วัฒนะ วัฒนานนท์, วิลาวัลย์ วงษ์เกษม, ไกวัล กล้าแข็ง, บัญญัติ แหวนแก้ว และ Reinhardt H. Howeler  . การใช้วิธีการแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังให้ยั่งยืน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 3 :สู่ระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัย สร้างมูลค่าเพิ่ม และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2547  ณ โรงแรมปางสวนแก้ว จ. เชียงใหม่.  น.317-326.

บทคัดย่อ

         การปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมีทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และธาตุอาหารสูญเสียไปกับการชะล้างพังทลายของดินในที่ลาดชัน ในขณะที่มันสำปะหลังใช้ธาตุอาหารน้อยกว่าพืชอื่น แต่สูญเสียหน้าดินไปกับการชะล้างพังทลายของดินสูงกว่าพืชอื่น เนื่องจากมันสำปะหลังการเจริญเติบโตช้าในช่วงแรก งานวิจัยในอดีตแสดงให้เห็นว่า การใส่ปุ๋ย การเตรียมดินน้อยครั้ง ยกร่องขวาง การคลุมดิน การปลูกพืชแซม และการปลูกพืชแถบ ช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินได้ อย่างไรก็ตามเกษตรกรยอมรับวิธีการเหล่านี้น้อยมาก บางครั้งไม่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น หรือเพิ่มการลงทุนเสียเวลาหรือเปล่าประโยชน์ เพราะเกษตรกรไม่เข้าใจเรื่องการสูญเสียดินจากการชะล้างพังทลายของดิน ผลของโครงการวิจัยแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมชี้ให้เห็นว่า เกษตรกรสามารถตัดสินใจโดยตรงและพัฒนาวิธีการที่เหมาะสมซึ่งพร้อมที่จะยอมรับเทคโนโลยี เช่น การปลูกพืชแถบด้วยหญ้าแฝกหรือพืชตระกูลถั่ว ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดินได้ แต่ยังมีส่วนร่วมเพิ่มผลผลิตและรายได้อีกด้วย สำหรับวิธีการที่เกษตรกรมีส่วนร่วมเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ เพราะเกษตรกรนำวิธีการที่ดีไปขยายผล ถ่ายทอดให้เกษตรกรชุมชนรอบหมู่บ้านพื้นที่โครงการนำร่อง และวิธีการที่ใช้จะปรับไปตามสภาพแวดล้อมที่เกษตรกรตัดสินใจด้วยตนเองโดยตรง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี และการวางรากฐานเป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนปฏิบัติงานร่วมกัน ทำให้เกิดการผลิตมันสำปะหลังที่ยั่งยืน