รายละเอียดบทคัดย่อ


ศรีสอางค์ เก่าเจริญ, บริบูรณ์ สัมฤทธิ์, คำ สวนเป็ง และกี ทรี บิว  . การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการประเมินพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกข้าวคุณภาพดี บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 3 :สู่ระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัย สร้างมูลค่าเพิ่ม และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2547  ณ โรงแรมปางสวนแก้ว จ. เชียงใหม่.  น.500-507.

บทคัดย่อ

         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย เป็นแหล่งของการผลิตข้าวหอม มีการปลูก ข้าวหอมในพื้นที่ลุ่มโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ผลผลิตที่ได้ต่ำ แต่คุณภาพของเมล็ดข้าวได้ก่อให้เกิดมูลค่า เพิ่มในเรื่องของราคา การชดเชยกันนี้ทำให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นและยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้มีการ ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี พฤติกรรม และการจัดการองค์กร ไปสู่ระบบการผลิตข้าว ที่มีการพึ่งพาตัวเอง ในระยะยาวได้ดีขึ้น เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการศึกษาถึงแต่ละปัจจัยและเงื่อนไขสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อคุณภาพเมล็ด ข้าวหอมของไทยในภูมิภาคนี้ ในการศึกษานี้เป็นการผสมผสานหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน โดยนำความรู้ในปัจจุบัน งานวิจัยที่ผ่านมา ร่วมกับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ทำการประเมินพื้นที่ปลูกข้าวที่มีศักยภาพ ต่อคุณภาพเมล็ดข้าวของพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ 9 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้ถูกนำมาใช้ในการผสมผสานข้อมูล และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ ผลิตกลิ่นหอมของเมล็ดข้าว การคงความหอมไว้และความเสื่อมของเมล็ดข้าวอันเนื่องมาจากการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษา ปัจจัยทางภูมิศาสตร์สามปัจจัยหลักที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ (1) โอกาสความ น่าจะเป็นของภาวะความแห้งแล้งของดินในระยะที่ข้าวกำลังผลิตน้ำนม (2) อุณภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม และ (3) โอกาสความน่าจะเป็นของฝนปลายฤดูในระยะที่ เมล็ดข้าวกำลังสุก นอกจากนี้เทคนิควิธีการเก็บเกี่ยวซึ่งเปลี่ยนจากการเกี่ยวมือและนวดเครื่อง เป็นการใช้ เครื่องจักรขนาดเล็กมากขึ้น ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดข้าวก็จะกล่าวถึงด้วย รายงานฉบับนี้เป็นการเสนอผลงานเบื้องต้นจากการวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลลัพธ์ที่ได้ ได้ทำการตรวจสอบกับข้อมูลการสำรวจคุณภาพเมล็ดข้าวในท้องถิ่น