รายละเอียดบทคัดย่อ


บุญเทียม เลิศศุภวิทย์นภา ศุภกร ชินวรรโณ และ อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา  . ระดับความเสี่ยงของเกษตรกรเขตน้ำฝนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 4 :เกษตรเพื่อชุมชนและสิ่แวดล้อม พร้อมรับโลกร้อน . ระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2551  ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส เชียงใหม่.  น.119-128.

บทคัดย่อ

         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ แวดล้อมทำให้เกิดความแปรปรวนของฝนทั้งปริมาณและช่วงเวลาการเคลื่อนไปของฝนที่มา เกษตรกรในพื้นนิยมปลูกข้าวเป็นหลักที่มีความสำคัญมาก ทั้งเป็นอาหารและรายได้ การศึกษาเป็นการรวบรวมข้อมูลของเกษตรกร นำมาประมวลร่วมกับการจำลองสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ที่ระดับ 540 ppm และ 720 ppm เพื่อศึกษาความเสี่ยงของเกษตรกร อีกทั้งเป็นการบอกถึงการเตรียมตัวของเกษตรกรในเขตน้ำฝน ที่มีผลต่อผลผลิตข้าว เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร จ.อุบลราชธานี ระบบฟาร์มเป็นปลูกข้าวและอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก จากการสุ่มเลือกเกษตรกรจำนวน 560 ครัวเรือน สามารถแบ่งกลุ่มเกษตรกรได้ 3 กลุ่มระดับความเสี่ยงคือ สูง กลาง และต่ำ ตาม เงื่อนไขทางสภาพเศรษฐกิจ การดำรงชีพด้วยการผลิตข้าว และความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ได้เมื่อสภาวะเปลี่ยนไป พบว่า กลุ่มความเสี่ยงสูง ที่มีการปลูกข้าวเป็นหลัก มีรายได้จากข้าวไม่แน่นอน ทำให้ครัวเรือนมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ มีหนี้สินมาก และการออมน้อย และมีผลโดยตรงเมื่อเกิดภาวะผลผลิตข้าวลดลง โดยเฉพาะในเขตที่ลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิด น้ำท่วมเป็นประจำ และเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมบ่อยครั้ง อาจทำให้เกษตรกรต้องเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น เนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย มีหนี้สินมาก เกิดการสูญเสียที่ดิน และเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นต่อไป ดังนั้นการดำรงชีวิตให้อยู่ได้ จึงต้องมีรายได้จากหลายทางหรือหลายแหล่ง ที่จะเป็นทางเลือกให้เพิ่มรายได้เพื่อทดแทนกับรายได้ที่สูญเสียจากสภาวะน้ำท่วมดังกล่าว