รายละเอียดบทคัดย่อ


นงคราญ ประมูล และ ชพิกา สังขพิทักษ์  . ความเต็มใจจ่ายเพื่อให้ได้รับทรัพยากรน้ำที่ดีขึ้นของเกษตรกรในลุ่มน้ำแม่สาตอนปลาย.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 4 :เกษตรเพื่อชุมชนและสิ่แวดล้อม พร้อมรับโลกร้อน . ระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2551  ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส เชียงใหม่.  น.195-202.

บทคัดย่อ

         การศึกษา ความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อให้ได้รับทรัพยากรที่ดีขึ้นของเกษตรกรในพื้นที่ตอนปลายของลุ่มน้ำแม่สา ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาภัยแล้งทุกปี เกษตรกรจำนวนมากต้องมีการนำน้ำจากแหล่งอื่นเข้ามายังพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ปัญหาทางด้านความไม่มั่นใจเกี่ยวกับคุณภาพน้ำจากบ่อน้ำตื้นจึงมีการซื้อน้ำบรรจุขวดบริโภคจำนวนมาก ส่วนผลจากการประเมินความเต็มใจที่จ่าย ใช้วิธีการทดลองทางเลือกใน การประเมินมูลค่า พบว่าเกษตรกรให้ความเต็มใจจ่ายเพื่อการปรับปรุงทางด้านคุณภาพน้ำมากที่สุด อันดับต่อมาคือความเพียงพอของปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรและใช้สอยในครัวเรือน ตามลำดับ ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อความน่าจะเป็นที่จะให้มีการปรับปรุงทรัพยากรน้ำให้ดีขึ้น ได้แก่ การเคยเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทัศนคติที่ว่าควรให้ความช่วยเหลือเมื่อมีการร้องขอในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการปรับปรุงทรัพยากรน้ำทั้งทางด้านการเงินและ แรงงาน การผลิตข้าวเป็นพืชหลัก การซื้อน้ำดื่มเพื่อการบริโภค การเคยประสบปัญหาภัยแล้ง จำนวนที่ดินที่ใช้เพื่อการเกษตร จำนวนปีที่ได้รับการศึกษา อายุของเกษตรกรตัวอย่าง การมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรจากแหล่งอื่นร่วมกับลำน้ำแม่สาและรายได้นอกภาคเกษตร นอกจากนี้เกษตรกรในพื้นที่ปลายน้ำยังแสดงความเห็นว่ามาตรการที่สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพน้ำในลำน้ำแม่สามากที่สุดคือ การส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ต้นน้ำหันใช้สารธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมี ทางด้านปริมาณ มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ป่าไม้ที่เหลืออยู่ไว้