รายละเอียดบทคัดย่อ


นันทิยา หุตานุวัตร ปราณีต งามเสน่ห์ มานัส ลอศิริกุล เรวัติ ชัยราช สมชัย สวาสดิพันธ์ นพมาศ นามแดง เฉลียว บุญมั่น ประสิทธิ์ กาญจนา อุทัย อันพิมพ์ จินดามณี แสงกาญจนวณิช สุวัฒน์ ธีระพงษ์ธนากร สังวาลย์ แก่นโส และ ณิชารัตน์ สวาสดิพันธ์  . การใช้แนวคิดการพึ่งพิง (interdependency) กับจัดการทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 4 :เกษตรเพื่อชุมชนและสิ่แวดล้อม พร้อมรับโลกร้อน . ระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2551  ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส เชียงใหม่.  น.203-212.

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ต้องการค้นหาคำตอบประการหนึ่งว่า ระบบเกษตรผสมผสานที่มีข้าวหอมมะลิอินทรีย์เป็นพืชหลักจะมีศักยภาพเพียงใดในการเป็นอาชีพทางเลือกในการแก้ไขปัญหาความยากจน จึงได้ ใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีเกษตรกรผู้ทำเกษตรผสมผสาน จำนวน 119 ราย ใน จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ จ.อุบลราชธานี จ.อำนาจเจริญ จ.ยโสธร และ จ.ร้อยเอ็ด งานวิจัยอยู่ในช่วงตุลาคม 2547-มีนาคม 2549 ผลการศึกษาพบว่า เกษตรผสมผสานที่มีข้าวหอมมะลิอินทรีย์เป็นพืชหลัก เป็นระบบเกษตรกรรมที่เป็นอาชีพทางเลือกที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยเหตุผล 5 ประการ ได้แก่ 1) ความมั่นใจในการประกอบอาชีพเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน 2) การลดรายจ่ายค่าอาหารในครัวเรือน 3) การลดรายจ่ายปัจจัยการผลิต 4) การเพิ่มรายได้จากฟาร์ม 5) การฟื้นฟูระบบนิเวศแปลงนาให้มีความอุดมสมบรูณ์ของดิน และมีความสมดุลตามธรรมชาติระดับของเกษตรผสมผสานที่มีข้าวหอมมะลิอินทรีย์เป็นพืชหลัก ในการเป็นอาชีพทางเลือกที่มีศักยภาพในการแก้ไขความยากจนขึ้นกับความเข้มข้นของส่วนประกอบของเกษตรผสมผสาน 5 ประการ ได้แก่ 1) การสร้างระบบเกษตรที่มีลักษณะผสมผสานและหลากหลาย และใช้ประโยชน์หรือเกื้อกูลกันของการผลิต 2) การพึ่งพาปัจจัยการผลิตในฟาร์มของตนเองมากที่สุด 3) การผลิตหลักชนิดอื่น ซึ่งเป็นผลผลิตที่ตลาดต้องการ และตามศักยภาพ พื้นที่จะเป็นการสร้างรายได้แก่เกษตรกร 4) เกษตรกรต้องขยันเก็บผลผลิตแม้มีไม่มากนักออกขายเป็นประจำ 5) เกษตรกรควรอาศัยอยู่ในฟาร์มเพื่อดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด