รายละเอียดบทคัดย่อ


เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ ณัฐวุฒิ ภาษยะวรรณ และ ปิยะมาศ ทามี  . ผลกระทบจากการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราในจังหวัดพิษณุโลก .  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 4 :เกษตรเพื่อชุมชนและสิ่แวดล้อม พร้อมรับโลกร้อน . ระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2551  ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส เชียงใหม่.  น.274-282.

บทคัดย่อ

         ในปี 2550 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยาง ประมาณ 14.5 ล้านไร่ และอนาคตคาดว่าจะมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 16 ล้านไร่ โดยพันธุ์ยางพาราที่นิยมปลูกในประเทศคือ RRIM600 คิดเป็น 95% อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจในหลายภูมิภาคของประเทศ พบการปลูกยางพันธุ์อื่น เช่น RRIT251 แต่มีจำนวนน้อยราย ส่วนใหญ่เป็นการปลูกเพื่อการศึกษา กรมวิชาการเกษตรได้ทำการศึกษาพื้นที่ศักยภาพในการผลิตยางของ จ.พิษณุโลก พบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพมากที่สุดคือ อ.นครไทย โดยมีพื้นที่ที่มีศักยภาพ 113,916 ไร่ ที่สามารถให้ผลผลิต 200-250 กก./ไร่/ปี และ 49,828 ไร่ ที่สามารถให้ผลผลิต 250-400 กก./ไร่/ปี จากพื้นที่ศักยภาพรวมทั้งจังหวัด 586,953 ไร่ ที่ให้ผลผลิต 200-250 กก./ไร่/ปี และ 111,718 ไร่ ที่ให้ผลผลิต 250-400 กก./ไร่/ปี โดยมีพื้นที่ไม่เหมาะสมจำนวน 5,392,377 ไร่ จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จ.พิษณุโลก พบว่า จ. พิษณุโลก มีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 1 แสนไร่ ประกอบด้วยเกษตรกรในโครงการจำนวน 2,000 ราย หรือประมาณ 20,000 ไร่ และเกษตรกรนอกโครงการ จำนวนประมาณ 5,000 ราย หรือประมาณ 80,000 ไร่ จ.พิษณุโลก มีเกษตรกรที่ปลูกยางพารานอกโครงการที่สำรวจได้ จำนวน 5,518 ราย คิดเป็นพื้นที่ 19,379 ไร่ มีเกษตรกรที่กรีดยางแล้ว จำนวน 25 ราย คิดเป็น 758 ไร่ รวมทั้งหมด 1,112 ราย หรือ 25,679 ไร่ อำเภอต่างๆ ใน จ.พิษณุโลก ที่ปลูกยางมากที่สุดคือ อ.วังทอง บริเวณบ้านกลาง บ้านวังนกแอ่น รองลงมาคือ อ.นครไทย ที่บ้านแยง และบ้านหนองกะท้าว ต่อมาคือที่ อ.ชาติตระการ ที่บ้านดง และบ้านป่าแดง มีเกษตรกรที่ปลูกยางพันธุ์ RRIT251 อยู่ที่ อ.บ้านกร่าง จำนวน 3 ราย โดยมีพื้นที่ปลูกยางพันธุ์ดังกล่าวประมาณ 20 ไร่ จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่กรีดยางได้แล้วประมาณ 1,000 ไร่ คิดเป็นผลผลิต 200 กก./ไร่/ปี (± 30 กก.) ต้นทุนการผลิตต่อไร่ของยางพาราใน จ.พิษณุโลก คือ 12,000 บาท/ไร่ ในระยะเวลาช่วง 6-7 ปี (± 2,000 บาท) ขึ้นอยู่กับค่าจ้างแรงงาน ที่ดิน ราคาปุ๋ย ปัญหาของเกษตรกรที่พบคือ ขาดเงินทุน ขาดความรู้ ปัญหาความแห้งแล้ง ปัญหาด้านที่ทำกิน เอกสารสิทธิ์ เพราะทำให้เข้าถึงแหล่งทุนไม่ได้ ส่วนปัญหาโรคและแมลงมีไม่มากนัก