รายละเอียดบทคัดย่อ


ศักดิ์ดำเนิน นนท์กิติ และ พรสิริ สืบพงษ์สังข์  . ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ในจังหวัดลำพูน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 4 :เกษตรเพื่อชุมชนและสิ่แวดล้อม พร้อมรับโลกร้อน . ระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2551  ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส เชียงใหม่.  น.341-347.

บทคัดย่อ

         การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยใน จังหวัดลำพูน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในเขตอำเภอเมือง จำนวน 250 ครัวเรือนในการศึกษานี้ พิจารณาระดับการยอมรับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในรูปของจำนวนข้อปฏิบัติในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน โดยใช้ Count Model ผลการศึกษาทำให้ทราบการยอมรับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยใดเป็นสำคัญหากพิจารณาปัจจัยทั้งทางด้านลักษณะส่วนบุคคล ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม โดยพบว่า เพศของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ทำการเกษตร การได้รับการอบรมรวมถึงความรู้เกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน จำนวนสวน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ทำการเกษตร ทั้งนี้สภาพการจัดหาแรงงานในการพ่นสารเคมีและการจัดการแรงงานในพื้นที่ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการยอมรับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยต่างๆ ยังเป็นแนวทางให้กับผู้วางแผนนโยบายทางด้านการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดการยอมรับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานเพิ่มขึ้น ซึ่งการยอมรับวิธีการดังกล่าวจะส่งผลต่อความยั่งยืนทั้งทางด้านการผลิตทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อมต่อไป