รายละเอียดบทคัดย่อ


อรรณพ กสิวิวัฒน์ สมชาย บุญประดับ และ พิเชษฐ์ กรุดลอยมา  . การผลิตและการกระจายพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมสู่เกษตรกร.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 4 :เกษตรเพื่อชุมชนและสิ่แวดล้อม พร้อมรับโลกร้อน . ระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2551  ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส เชียงใหม่.  น.447-451.

บทคัดย่อ

         การใช้พันธุ์ข้าวโพดลูกผสมของราชการ นับว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่และผลผลิตรวมของข้าวโพดให้มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้บริโภคภายในประเทศ และการส่งออกรวมทั้งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะในส่วนของค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว จากผลการดำเนินงานทดสอบข้าวโพดลูกผสมในไร่เกษตรกร จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลปรากฏว่า สายพันธุ์คู่ผสมดีเด่นกรมวิชาการเกษตรหลายสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูง และใกล้เคียงกับพันธุ์ภาคเอกชนที่เกษตรกรนิยมปลูก โดยเฉพาะพันธุ์ NSX 982013 เป็นพันธุ์ที่ทนทานแล้ง ระบบรากแข็งแรง และต้านทานโรคราน้ำค้าง แต่มีจุดด้อยด้านความสูง และความเหนียวของขั้วฝักเมื่อเก็บเกี่ยวด้วยมือ การผลิตเมล็ดพันธุ์แท้พ่อ/แม่พันธุ์ การฝึกอบรมเกษตรกร และการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมในไร่เกษตรกร ปี 2547/2548 พบว่า เกษตรร 21 ราย 62.5 ไร่ 6 อำเภอ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 176 กก./ไร่ ได้ผลผลิตรวม 11.021 กก. จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ 50 ราย/กก. ได้ผลตอบแทนสุทธิ 4.594 บาท/ไร่ ต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ 4.206 บาท/ไร่ เป็นค่าแรงงาน 35% ค่าวัสดุ 46% และอื่นๆ 19% ต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ย 24 บาท/กก. ผลจากการกระจายพันธุ์ดี เมล็ดพันธุ์ผลิตไว้ใช้เอง สามารถปลูกได้ในพื้นที่ 3,500 ไร่ มูลค่า 12 ล้านบาท/ปี