รายละเอียดบทคัดย่อ


Moreau, D., ประโมทย์ แก้ววงศ์ศรี, G. Trebuil, อภินันท์ กำนัลรัตน์ และ ประกิต ทองคำ. 2531. การทดสอบกำหนดการของเทคนิค: กรณีศึกษาการนำเครื่องปลูกข้าวเป็นแถวมาใช้ในท้องถิ่น อ. สทิงพระ จ. สงขลา.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 5 : . ระหว่างวันที่ 4-7 เมษายน 2531 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.  น.32-49.

บทคัดย่อ

         การทดสอบกำหนดการทางเทคนิคอันใหม่ในระบบการทำฟาร์ม เป็นขั้นตอนสืบเนื่องจากผลการวิเคราะห์ที่ผ่านมาตามกระบวนการวิจัยและพัฒนาระบบการทำฟาร์ม ในแนวที่เรียกว่า 'จากเบื้องล่างสู่เบื้องบน' (bottom up approach) (CROZAT, 1986 ; PIKKOT, 1987) จากผลของการวิจัยวินิจฉัยระบบชุมชนเกษตรกรเบื้องต้น มุ่งหวังที่จะแยกแยะจัดลำดับปัญหาของเกษตรกรในแต่ละสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพ และกลไกการดำเนินกิจการทางการเกษตรแต่ละกลุ่มประเภทในระบบการทำฟาร์ม ดังเช่นในกรณีที่ได้มีการศึกษาขั้นต้นในพื้นที่ อ.สทิงพระ พบว่าผลิตภาพการใช้แรงงาน (labour productivity) ในการทำนาแบบหว่านข้าวแห้งอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เนื่องจากมีปัญหาที่สำคัญ คือวัชพืชอันได้แก่ ข้าวป่าหรือข้าวผีในภาษาท้องถิ่น (ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้าวป่ากับข้าวปลูก ในช่วงที่ยังไม่ออกดอก) และปัญหาต้นข้าวขึ้นไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกษตรกรต้องใช้เวลามากเพื่อกำจัดวัชพืช ถอนแยกและปลูกซ่อม ด้วยวิธีการสำรวจการปลูกพืชในไร่นาเกษตรกร เพื่อหาสาเหตุหรือปัจจัยอันเป็นตัวจำกัดการผลิตเป็นขั้นตอนและปฏิกิริยาร่วมของปัจจัยในแต่ละขั้นตอน ตามวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติทำให้มีแนวทางที่จะทราบระดับที่เหมาะสมในการสร้างผลผลิตของพืชในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตได้ เมื่อถึงขั้นนี้เราสามารถจะกำหนดรูปแบบลำดับการของเทคนิคอันใหม่ เพื่อทำการทดสอบในพื้นที่นั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับให้ถึงจุดที่เหมาะสมที่ควรจะได้รับในแต่ละขั้นตอนตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และขจัดปัญหาอันเป็นข้อจำกัดสำคัญในระบบกลไกการดำเนินงานของเกษตรกรที่มีอยู่เดิม โดยนัยนี้จึงเห็นว่า การนำเอาเครื่องปลูกข้าวเป็นแถว (เครื่องหยอดเมล็ด) ติดตั้งกับกลไกเดินตามแทนการหว่านข้าวแห้งที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ น่าจะได้มีการทดสอบดูความเป็นไปได้ ด้วยสมมติฐานต่อไปนี้ - ทำให้ได้ต้นข้าวที่ขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลให้ช่วงต่อ ๆ ไป ของการเจริญเติบโตของข้าว ในการสร้างผลผลิตถึงระดับที่เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้น - ทำให้สามารถกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่ระหว่างแถวปลูกได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เนื่องจากไม่ต้องพะวงเลือกกำจัดข้าวป่าจากข้าวปลูกในที่นี้จะเป็นการเสนอหลักการและแนวความคิดบางประการที่จะเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนนี้ของการวิจัยระบบการทำฟาร์ม กล่าวคือ เป็นการทดสอบการนำเทคนิคอันใหม่เพื่อดูความเป็นไปได้มากน้อย