รายละเอียดบทคัดย่อ


Trebuil, G. and P. Boonchoo. 2531. บทบาทของการจำแนกประเภทระบบการผลิตการเกษตรในการวิจัยระบบการทำฟาร์มและการส่งเสริม.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 5 : . ระหว่างวันที่ 4-7 เมษายน 2531 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.  น.194-215.

บทคัดย่อ

         ความหลากหลายของฟาร์มเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งของการถ่ายทอดเนวกรรมการเกษตรไปสู่เกษตรกร โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรที่มีฐานะทางเศรษบกิจและสังคมที่ค่อนข้างดีมีแนวโน้มจะยอมรับปฏิบัติตามคำแนะนำ ส่งเสริม การที่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น เกษตรกรมักถูกตำหนิว่าด้อยการศึกษาแต่ความจริงนวกรรมที่เอาไปให้เกษตรกรนั้นมักจะไม่เหมาะสมหรือไม่ตรงกับความต้องการของเกษตกร ปัจจุบันในบางท้องที่จะเห็นว่ามีการผลิตสินค้าเกษตรจะเป็นแบบเฉพาะอย่างคือผลิตสินค้าเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นและความแตกต่างของแต่ละท้องถิ่นก็ยังทำให้เห็นความแตกต่างของแต่ละฟาร์มเด่นชัดมากขึ้นปัจจุบันนี้ยอมรับกันว่าการจำแนกประเภทของฟาร์มโดยยึดเป้าหมายของฟาร์มเป็นหลักเพียงสิ่งเดียวไม่ค่อยมีประโยชน์นัก ในการวิจัยระบบการทำฟาร์มนั้นปัญหาหรืออุปสรรคของแต่ละระบบการผลิตเป็นสิ่งสำคัญและจะได้รับการรศึกษาและวิเคราะห์อย่างละเอียดซึ่งจะนำไปสู่การวิเคราะห์และวิจัยอย่างเหมาะสม และจะเป็นแนวทางไปสู่การแก้ไขปัญหาของเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การแยกแยะปัญหาของเกษตรกรอย่างละเอียดรอบคอบมีส่วนช่วยในการประเมินผลโครงการปรับปรุงการทำฟาร์มเป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์ของการวินิจฉัยหรือเทคนิคในการการทำฟาร์มขึ้นอยู่กับความชัดเจนของโครงสร้างของระบบการผลิตการเกษตร ดังนั้นจำเป็นต้องศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในระบบการผลิต ซึ่งอาจทำได้โดยการศึกษาขบวนการตัดสินใจ จุดประสงค์หรือเป้าหมายของเกษตรกร อุปสรรคของฟาร์มในแง่ชีวภาพและกายภาพ ซึ่งหมายถึงการศึกษาขบวนการตัดสินใจ และการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเกษตรกร วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของเกษตกรโดยทั่วไปประกอบด้วย การผลิตอาหารเพื่อการบริโภคภายในครอบครัว รายได้มาตรฐานในการครองชีพ และความอยู่รอดของการครองชีพและความอยู่รอดของการประกอบอาชีพการทำฟาร์ม ฟาร์มในท้องที่หนึ่งๆ นั้นสามารถที่จะจัดเป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดหมู่ได้ โดยอาศัยความคล้ายคลึงกันในแง่ต่อไปนี้ เช่น อุปสรรคต่างๆ วัตถุประสงค์ วิธีการผลิต รวมทั้งคัดเลือกดัชนีที่สำคัญของแต่ละระบบการผลิต ก็สามารถทำให้จำแนกประเภทของระบบการผลิตได้ ในที่สุดทำให้ทราบถึงปัญหาและจำนวนเกษตรกรในแต่ละระบบการผลิตได้ อีกขั้นหนึ่งของการจำแนกระบบการผลิตคือ การศึกษาความเปลี่ยนแปลงของระบบการผลิตหลักๆ และการแยกแยะประเภทของระบบการผลิตย่อย ในที่นี้ประโยชน์ของการจำแนกประเภทของระบบการผลิตจะนำเสนอให้เห็นจากการจำแนกระบบการผลิตการเกษตรในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา