รายละเอียดบทคัดย่อ


Craig, I. A. and M. Saenlao. 2531. ผลกระทบของการปลูกยูคาลิปตัสบนคันนาต่อพืชไร่ที่ปลูกในนา.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 5 : . ระหว่างวันที่ 4-7 เมษายน 2531 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.  น.108-116.

บทคัดย่อ

         ยูคาลิบตัส เป็นต้นไม่โตเร็วที่กำลังนิยมปลูกกันทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ป่า (สงวน) ที่สาธารณะ ที่ดินส่วนบุคคล ตลอดจนตามไร่ - นาของเกษตรกร การปลุกยูคาลิบตัสนับวันแต่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ยูคาลิบตัสที่โตได้ที่แล้วจะนำไปใช้เชื้อเพลิง เผาเอาถ่าน และทำเยื่อกระดาษ ตลอดจนนำไปก่อสร้าง เพื่อเป็นการตอบสนองของเกษตรกรในการหาไม้มาทำเป็นเชื้อเพลิง และสร้างที่อยู่อาศัยนั้น โตรงการพัฒนาการเกษตรอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NERAD) จึงได้เพาะชำต้นกล้าไม้โตเร็วสายพันธุ์ต่าง ๆ แจกจ่ายให้ชาวบ้านไปปลูกในที่ดินของตนเองเป็นเวลากว่า 5 ปีมาแล้ว สายพันธุ์ที่แจกมากที่สุด ได้แก่ ต้น Eucalyptus camaldulensis ซึ่งต่อมาพบว่าเกษตกรชอบนำไปปลูกไว้ตามคันนา เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรงทนแล้งทนน้ำท่วมขังได้ และโครงสร้างของลำต้นก้ดปร่งบางเป็นที่กำบังแดดให้แก่ข้าวกล้าได้น้อย การปลูกยูคาลิบตัสไว้ตามคันนานั้นได้เริ่มมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันนี้ นับเป็นเวลาได้ 5 ปีแล้ว จนยูคาลิบตัสที่ปลูกไว้มีลำตันสูงถึง 30 เมตร วัดรอบลำต้นจะได้เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 ซม. ส่วนการที่จะนำต้นยูคาลิบตัสมาใช้ประโยชน์นั้น ก็มีขอบเขตจำกัด เช่น นำมาใช้เป็นเสาเข็ม ทำเป็นเชื้อเพลิง และเผาถ่าน เมื่อปี พ.ศ. 2531 ได่รับรายงานจากเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ประจำภาคสนามเกี่ยวกับพืชก่อนข้าวคือ ปอแก้วและถั่วลิสง ที่ทดสอบปลูกในบริเวณใกล้เคียงกับต้นยูคาลิบตัสที่โตเต็มที่แล้ว ปรากฏว่าการเจริญเติบโตของพืชดังกล่าวช้ากว่าปกติ เพราะฉะนั้นจึงได้จัดเก็บข้อมูลในพืชก่อนข้าวและข้าวที่ปลูกตามมา ปรากฏว่าปอแก้วที่ปลูกก่อนข้าวเจริญเติบโตช้าลงอย่างเห็นได้ชัด มีผลกระทบเป็นระยะทางถึง 20 เมตร จากต้นยูคาลิบตัสต้นพืชที่ได้รับผลกระทบจะมีอาการแคระแกรน และชะงักการเจริญเติบโตไปด้วย แม้ว่าอัตราการใส่ปุ๋ยจะเพิ่มปริมาณมากกว่าเดิมก็ตาม ก็ไม่ทำให้ต้นพืชที่ได้รับผลกระทบจากต้นยูคาลิบตัสเจริญเติบโตขึ้นเลย และการตัดต้นยูคาลิบตัสทิ้งก็ไม่ได้แก้ปัญหาในช่วงสั้น ๆ ได้อีกเหมือนกัน ในกรณีถั่วลิสงก็เหมือนกันคือ โต้ช้า ฝักแก่ช้า และความ งอกลดลง ในช่วงที่ห่างจากต้นยูคาลิบตัสระยะ 15 เมตร ตรงกันข้าม ปอแก้วและถั่วลิสงที่ปลูกในระยะห่างออกไปจากระยะที่กำหนดดังกล่าวจะงอกงามและเจริญเติบโตเป็นปกติ ผลผลิตของพืชทั้งสองก็เหมือนกันยิ่งใกล้ปลูกต้นยูคาลิบตัสมากก็ยิ่งลดลงมาก ส่วนผลผลิตข้าวที่เป็นพืชปลูกตามมาก็จะลดลงเหมือนกัน เฉพาะบริเวณใกล้ต้นยูคาลิบตัสแต่ปริมาณการลดลงจะน้อยกว่า จากข้อมูลที่ได้มาชี้ให้เห็นว่าการแย่งความชื้นในดินของต้นยูคาลิบตัส เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดผลกระทบอย่างไรก็ตามเรื่องนี้ควรจะพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วยเพราะว่าผลกระทบเกี่ยวกับความชื้นในดินมีความสัมพันธ์กับความมีประโยชน์ของธาตุอาหาร และสารพิษ (ALLELOPATHY) เป็นต้น การวิจัยคงจะต้องมีต่อไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อค้นหา กระบวนการที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับผลกระทบดังกล่าว และการศึกษาในเชิงเศรษฐศาสตร์ เพื่อคำนวณหาค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่จะได้รับจากต้นยูคาลิบตัส น่าจะถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นเหมือนกัน