รายละเอียดบทคัดย่อ


ชูทิพย์ ชนะเสนีย์, ณรงค์ วุฒิวรรณ และ อำนาจ จันทร์ครุฑ. 2533. แบบแผนการปลูกพืชและการปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเพื่อผลผลิตและคุณภาพของผล ผลิตในเขตที่ปลูกข้าวโพดเป็นหลัก.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.364-372.

บทคัดย่อ

         เพื่อหาแบบแผนการปลูกพืชที่เหมาะสมในเขตนิเวศเกษตร R5S1 กสิกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพดเป็นหลักโดยปลูกข้าวโพดเป็นพืชแรกและตามด้วยข้าวฟ่าง ข้าวโพดมักเสียหายเนื่องจากฝนทิ้งช่วงและเกิดสารพิษ Aflatoxin ในเมล็ด โดยดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อ.ตากฟ้า เป็นเวลา 3 ปี (1986-1988) ดินเป็นดินสีดำชุดลพบุรี พบว่าการปลูกถั่วเหลืองและถั่วเขียวอายุสั้นเป็นพืชแรกและปลูกตามด้วยข้าวโพดโดยไม่ ไถพรวนเป็นพืชที่ 2 จะให้ผลดีกว่าปลูกข้าวโพดเป็นพืชแรกและตามด้วยถั่วเขียวและถั่วเหลืองโดยเฉลี่ยผลผลิตข้าวโพดปลายฤดู (ปลูกต้นเดือนสิงหาคม) สูงกว่าข้าวโพดต้นฤดู (ปลูกต้นเดือนพฤษภาคม) 9 เปอร์เซ็นต์ ปลูกปลายฤดูให้ผลผลิต 818 กก./ไร่ และต้นฤดู 754 กก./ไร่ ถั่วเขียวและถั่วเหลืองปลูกต้นฤดูให้ผลผลิตสูงกว่าปลายฤดูประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ถั่วที่ปลูกเป็นพืชแรกไม่ควรเก็บเกี่ยวเกินเดือนกรกฎาคม ผลผลิตข้าวโพดที่ปลูกต้นฤดูจะขึ้นอยู่กับปริมาณฝนช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ส่วนปลูกปลายฤดูจะขึ้นอยู่กับปริมาณฝนช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ถ้าปริมาณฝนในช่วงดังกล่าวน้อยกว่า 400 มม. ผลผลิตของข้าวโพดจะลดลงมาก เป็นที่น่าสังเกตว่าข้าวโพดที่ปลูกตามถั่วเขียวจะให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวโพดที่ปลูกตามถั่วเหลือง