รายละเอียดบทคัดย่อ


วีระ ผลประเสริฐ. 2533. เจตคติของเกษตรกรในพื้นที่โครงการพัฒนาการในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โครงการย่อยจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีต่อรูปแบบการปลูกพืชตามระบบการปลูกพืชในพื้นที่โครงการ.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.516-523.

บทคัดย่อ

         การวิจัยมีจุดประสงค์ เพื่อจะได้ทราบสภาพพื้นฐานโดยทั่วไปทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาการในเขตปฏิรูปที่ดิน ภายใต้เงินกู้ธนาคารโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเพื่อศึกษาเจตคติของเกษตรกรในพื้นที่โครงการพัฒนาการในเขตปฏิรูปที่ดิน ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โครงการในตำบลลาดแค อำเภอชนแดน และตำบลพญาวัง อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณื ซึ่งได้รับ หรือเคยได้รับสินเชื่อเพื่อการผลิต ตามรูปแบบการปลูกพืชที่โครงการกำหนด ตามบัญชีทะเบียนลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำนวน 105 คน จากจำนวนลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์์การเกษตร รวม 926 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เจตคติตามมาตราวัดของลิเคอรทสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ คือ อัตราส่วนร้อยในการการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่เกี่ยวกับเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพของประชากร กลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวกับการปลูกพืช และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการปลูกพืช สำหรับคะแนนเจตคติของเกษตรกรจะใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ไค-สแควร์ ทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่าตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพในสังคมของเกษตรกรกับเจตคติที่มีต่อระบบการปลูกพืช และเปรียบเทียบข้อมูลคะแนนเจตคติที่รวบรวมได้ ด้วยการทดสอบค่า t เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโดยส่วนรวม มีเจตคติที่ดีต่อรูปแบบการปลูกพืชตามระบบการปลูกพืชที่คณะอนุกรรมการประสานงานโครงการพัฒนาการในเขตปฏิรูปที่ดินภายใต้เงินกู้ธนาคารโลก กำหนดไว้ในโครงการย่อย โดยมีคะแนนเจตคติสะสมเฉลี่ยเท่ากับ 36.7 และหากจะมีการกำหนดชนิดพืชที่จะนำมาใช้ในรูปแบบการปลูกนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในโ ครงการย่อยแล้ว เกษตรกรจะมีเจตคติที่ดีต่อพืชต่างๆ ได้แก่ ถั่วเขียว พริก ข้าวฟ่าง และถั่วเหลือง ตามลำดับ และพืชที่เกษตรกรมีเจตคติที่ไม่ดี ได้แก่ ยาสูบพื้นเมือง กระเจี๊ยบแดง แตงโม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และงา ตามลำดับ ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการมีเจตคติที่ดีหรือไม่ดีมากน้อยเพียงใดต่อระบบการปลูกพืช พบว่า เพศ อายุ การศึกษา และสถานภาพทางสังคมของเกษตรกร มีอิทธิพลต่อการมีเจตคติของเกษตรกรโดยที่เพศชายมีแนวโน้มที่จะมีเจตคติที่ดีต่อระบบ การปลูกพืชมากกว่าเพศหญิงเกษตรกรที่อยู่ในวัยเริ่มเป็นผู้ใหญ่ หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (อายุ 18-40 ปี) มีแนวโน้มที่จะมีเจตคติที่ดีต่อระบบการปลูกพืชมากกว่าทุกระดับอายุ เกษตรกรที่มีการศึกษาสูงกว่าจะมีแนวโน้มที่จะมีเจตคติที่ดีต่อระบบการปลูกพืชมากกว่ าเกษตรกรที่มีการศึกษาต่ำกว่า และเกษตรกรที่มีสถานภาพทางสังคมในกลุ่มสังคมที่ดีกว่า จะมีแนวโน้มที่จะมีเจตคติที่ดีต่อระบบการปลูกพืชมากกว่าเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิก และโดยมีตำแหน่งทางสังคมอยู่ในกลุ่มสังคม