รายละเอียดบทคัดย่อ


เบญจพรรณ ชินวัตร, พิชิต ธานี และ จามะรี พิทักษ์วงศ์. 2529. กระบวนการตัดสินใจเลือกระบบพืชของเกษตรกร: กรณีศึกษาที่ราบลุ่มเชียงใหม่.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 3 : . ระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน 2529 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.207-230.

บทคัดย่อ

         การศึกษากระบวนการตัดสินใจในการปลูกพืชของชาวนาในบริเวณที่ราบลุ่มเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา ค่อนข้างจะเป็นการศึกษาที่โน้มเอียงไปในแนวทางที่เชื่อว่าชาวนาตัดสินใจแย่างมีเหตุผล และเป็นการศึกษาที่พยายามจะหาคำตอบว่าในการใช้เหตุผลในการตัดสินใจของชาวนา Ireson (1975) ให้ความเห็นว่า ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เพาะปลูก (ลุ่มหรือดอน) เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการกำหนดพืชที่จะปลูก นอกจากนั้น Ireson ยังเสนอว่ามีปัจจัยสำคัญอีก 8 ประการ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกปลุกพืชของเกษตรกร คือ 1) ต้นทุนการเพาะปลูกที่เป็นตัวเงิน 2) แรงงาน 3) ความแน่นอนของผลผลิต 4) การผันแปรของผลผลิต 5) ความต้องการน้ำของพืชนั้น ๆ 6) พืชที่มีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของดิน 7) กำไรสุทธิ 8) ผลตอบแทนรวม (gross return) (ปัจจัย 8 ประการนี้ Ireson ให้เกษตรกรเป็นคนระบุเองว่าพืชใดใช้ต้นทุน แรงงาน ความแน่นอนของผลผลิต สูงหรือต่ำ) อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดจากกการศึกษาของ Ireson ไม่สามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยใดใน 8 ประการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด แต่เมื่อให้เกษตรกรตอบว่า ปัจจัยอะไรที่มีอิทธิพลต่อการเลืกปลูกพืชของเขา Irson พบว่า คำตอบที่ได้รับบ่อยที่สุด คือ 1) ผลผลิตต่อไร่ (crop yield) 2) ราคาเมื่อปีที่ผ่านมา และ 3) การเปลี่ยนแปลงของขนาดพื้นที่เพาะปลูก