รายละเอียดบทคัดย่อ


แสวง รวยสูงเนิน และ วิริยะ ลิมปินันท์. 2539. ความต้องการเทคโนโลยีของเกษตรเพื่อการปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษา: ระบบการผลิตอ้อยที่บ้านหนองบัวบาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 11 :ระบบเกษตรกรรมเพื่อเกษตรกร สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2539 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำบีช รีสอร์ท อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี.  น.117-138.

บทคัดย่อ

         การปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการขาดแรงงานในเขตที่ปลูกอ้อยเดิม โดยเฉพาะภาคตะวันตกของประเทศ ซึ่งทำให้มีการเคลื่อนย้ายโรงงานน้ำตาลเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่องในระยะประมาณห้าปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้พื้นที่ดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นเขตแห้งแล้ง ดินเลว และเกษตรกรส่วนใหญ่มีทรัพยากรจำกัดนั้น จำเป็นต้องได้รับการคัดเลือกและปรับเปลี่ยนสภาพให้เกิดความเหมาะสมต่อารปปลูกอ้อย ที่มีอายุข้ามปีและต่อเนื่องกันมาหลายปี ทั้งในด้านการจัดการดิน การจัดการน้ำในดิน การจัดการพืช และการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นการปรับตัวที่สำคัญของเกษตรกรที่ปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ดำเนินงานศึกษาภายใต้โครงการฝึกอบรมนักวิชาการนานาชาติ เพื่อการวิจัยร่วมกับเกษตรกร โดยมีเป้าหมายที่จะศึกษาเงื่อนไขเพื่อการกำหนดเขตความเหมาะสม การแก้ปัญหาของเกษตรกรและแนวทางการวิจัยเพื่อการปรับปรุงระบบการผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอำเภอน้ำพอง ที่ใช้เป็นที่ศึกษาเป็นกรณีตัวอย่างสำหรับพื้นที่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน วิธีการที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยการวิเคราะห์ระบบนิเวสเกษตรจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างทั้งในระดับหมู่บ้าน ระดับครัวเรือน และระดับกิจกรรม โดยอาศัยแนวคิดหลักจากระบบนิเวศเกษตร และระบบการทำฟาร์มของเกษตรกร จากการศึกษาในระดับภาคพบว่า การปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เริ่มมาประมาณ 30 - 50 ปีมาแล้ว แต่อยู่ในระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก การขยายเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก การขยายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้นเพิ่งเริ่มมาหลังตั้งโรงงานน้ำตาลที่กุมวาปีและที่น้ำพองตามลำดับ และโดยเแพาะเมื่อประมาณ 3 - 4 มานี้ มีการขยายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญามากขึ้นอย่างรวดเร็วการเลือกใช้พื้นที่เพื่อการปลูกอ้อยในระยะแรก ๆ เป็นการเลือกเขตที่มีทรัพยากรพื้นฐานดีพอที่จะปลูกอ้อยได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นป่าเปิดใหม่ หรือดินค่อนข้างดี มีความสามารถอุ้มน้ำไว้ได้นาน และอยู่ในเขตที่ฝนตกกระจายตัวกว้าง แต่เมื่อมีการขยายตัวมากขึ้น พื้นที่ที่เหมาะสมน้อยก็ถูกนำมาใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ ลักษณะดังกล่าวทำให้เกษตรกรต้องมีการคัดเลือกพันธุ์ หาวิธีจัดการรักษาความชื้นในดิน และการจัดการดินด้านอื่น ๆ เพื่อให้ได้อ้อยที่มีผลผลิตในระดับที่มีกำไรพอสมควร เกษตรกรที่ปลูกอ้อยเป็นครั้งแรกมักจำเป็นต้องมีทุนเริ่มต้นสูงอย่างน้อยก็เพื่อการซื้อพันธุ์อ้อยจำนวนน้อยมาขยายเอง ในกรณีที่มีทุนน้อยและไม่ต้องการกู้ยืม เกษตรกรอาจะซื้อพันธุ์อ้อยจำนวนน้อยมาขยายเอง ดังนั้นพันธุ์อ้อยที่เกษตรกรใช้อยู่ในปัจจุบันจึงยังเป็นพันธุ์อ้อยที่มีอยู่โดยทั่ว ๆ ไป และมักเป็นพันธุ์อะไรก็ได้ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น สำหรับพันธุ์ดีนั้นมักมีราคาแพง ซึ่งทำให้เกษตรกรรายย่อยมีโอกาสน้อยที่จะใช้ได้ เกษตรกรจะเก็บและรักษาพันธุ์ไว้ในแปลงของตนเองและใช้จุดที่มีการเจริญดีที่เหลืออยู่ในแปลงในปีสุดท้ายก่อนการรื้อแปลง เป็นแหล่งท่อนพันธุ์ ต่อไป จากการศึกษาถึงขบวนการและเงื่อนไขการผลิตอ้อยในระดับหมู่บ้าน พบว่าเกษตรกรได้ทดสอบและปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตอ้อยให้เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพเฉพาะของพื้นที่ โดยเฉพาะการไถพรวน การปลูก การกำจัดวัชพืช การปราบศัตรูพืช และการใช้แรงงานในพื้นที่อย่างค่อนข้างจะสอดคล้องกัน การตัดสินใจที่สำคัญ ที่จะปลูกอ้อยในช่วงเวลาใดก็ตามจะผูกพันอยู่กับการกระจายตัวของน้ำฝนและความสามารถของดินแต่ละชุด เกษตรกรส่วนใหญ่พยายามจะปลูกอ้อยทันทีหลังฤดูฝน เพื่อลดผลกระทบจากการอัดแน่นของผิวดิน ปัญหาวัชพืช และอัตราการสูญเสียน้ำจากดิน ดินที่เหมาะสมนั้นเป็นดินทรายจัดมากกว่าดินทราบที่มีดินเหนียวปนอยู่ อันเนื่องมาจากการเก็บความชื้นของดินไว้ได้นานกว่าและไม่ค่อยมีปัญหาการอัดตัวแน่นที่ผิวดินหลังฝนตก วิธีการปลูกที่สำคัญส่วนใหญ่จะมีการไถพรวนเพื่อเก็บความชื้น 2 - 3 ครั้ง และไถลึกเซาะร่องก่อนปลูกโดยใช้ท่อพันธุ์ทั้งลำ วางท่อคู่สับหว่างโคน/ปลาย แล้วใช้มีดสับให้เป็นท่อนยาวประมาณ 50 ซม. ก่อนการโรยยาฆ่าปลวก ปุ๋ย และกลบด้วยการใช้จอบ หรือรถไถเดินตาม การใช้ปุ๋ยจะสอดคล้องกับระดับความชื้นในดินเช่นกัน โดยจะมีการใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ในช่วงปลูกก่อนและกำจัดวัชพืชในระยะแรก ๆ ส่วนใหญ่เน้นที่การกำจัดปลวก ที่มากินท่อนพันธุ์อ้อย แต่การป้องกันด้านอื่นมีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นหนอนกอ โรคใบขาว หรือโรคไส้แดง ส่วนใหญ่เกษตรกรถือว่าโรคดังกล่าวนี้ ไม่มีผลกระทบเสียหายมากมายนักหรือมีแผนจัดการได้ในอนาคตถ้าจำเป็น จากการวิเคราะห์ปัญหา และหารือกับเกษตรกระพบว่าแนวทางแก้ปัญหาที่เกษตรกรต้องการและ/หรือปฏิบัติได้ ได้แก่ การหาพันธุ์ที่ดีปรับตัวได้ดีในสภาพความหลากหลายของทรัพยากร ปรับปรุงระบบการแจกจ่ายอ้อยพันธุ์ดี การจัดการช่วงเวลาปลูกที่ทำให้ขีดจำกัดการปลูกน้อยลง แนวทางลดต้นทุนการไถพรวนและต้นทุนด้านท่อนพันธุ์ สำหรับการบำรุงรักษาดินโดยใช้อินทรีย์วัตถุนั้นเป็นที่น่าสนใจของเกษตรกรค่อนข้างมากเพียงแต่มีข้อจำกัดในเชิงเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ จึงทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าต้องมีการทดลองก่อนในพื้นที่ ถ้ามีแนวทางที่ปฏิบัติได้ง่ายและได้ผลตอบแทนที่ดีที่ชัดเจนแล้วจึงจะทำตามประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการใช้อินทรีย์วัตถุนั้นมี 2 รูปแบบคือ การใช้เศษเหลือจากโรงงานผลิตน้ำตาลและการใช้ถั่วปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ประเด็กแรกนั้นทำได้เฉพาะเกษตรกรที่มีรถขนเศษเหลือดังกล่าวไปไร่ของตนเอง ทั้งโดยการจ้างหรือรถส่วนตัว แต่ในกรณีหลังยังมีขีดจำกัดในเรื่องไม่มีเมล็ดถั่วที่เกษตรกรจะนำไปใช้ได้ หากขีดจำกัดดังกล่าวได้รับการแก้ไขแล้วการส่งเสริมการผลิตอ้อยโดยการปรับปรุงดินอาจะจได้รับการแก้ไขไปด้วย