รายละเอียดบทคัดย่อ


โกวิทย์ นวลวัฒน์, อรุณี ปิ่นประยงค์, ฉวีวรรณ มหะเสนีย์, เอื้อ เชิงสะอาด, อนุวัติ พิสัยพันธ์, ประเสริฐ กองกันภัย, ยุทธพงศ์ สภาทอง, วัรัตน์ สมตน, โสภณ ดอกหอม, วราวุธ พันธุ์ศิลา, ชูสิทธิ์ นายอง และ ทศพร มณีรัตน์. 2533. วันสาธิตการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการไร่นา.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.613-623.

บทคัดย่อ

         การส่งเสริมการจัดการไร่นาเป็นการแนะนำให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด คือ ที่ดิน แรงงาน ทุน ตลอดจนแหล่งน้ำ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพตามความเหมาะสมกับแต่ละสภาพที่ โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี มีการใช้แรงงานด้านการเกษตรในำไร่นามากขึ้นซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมการจัดทำไร่นา เป็นรูปแบบของแปลงส่งเสริมการจัดไร่นาในพื้นที่ของเกษตรกร เพื่อพัฒนาไร่นาซึ่งเน้นให้มีกิจกรรมการเกษตรทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และการประมง ตามสภาพแต่ละพื้นที่ ความรู้ความสามารถของเกษตรกร โดยเฉพาะการผลิตสินค้าตามความต้องการตลาด โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินการทำแปลงส่งเสริมการจัดทำไร่นาให้แก่จังหวัดเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2519 เป็นต้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเกษตร ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถรับการถ่ายทอดวิชาวันสาธิตการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการไร่นา ซึ่งเป็นวิธีการส่งเสริมในรูปแบบกลุ่มวิธีหนึ่งและเป็นการผสมผสานกับสื่อต่าง ๆ เพื่อให้เกาตรกรได้ศึกษาดูงานจากแปลงส่งเสริมการจัดไร่นาของเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนซักถามปัญหาต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมให้เกษตรกรนำเอาความรู้ หลักการหรือแนวคิดต่าง ๆ ไปปฏิบัติจริงในไร่นาของเกษตรกรในแต่ละสภาพพื้นที่ แนวทางการจัดงานสาธิตการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดไร่นา เน้นกิจกรรมในการจัดงานดังนี้คือ 1) การจัดการไร่นา 2) แนวทาง และการวัดผลการส่งเสริมการจัดการไร่นา 3) การผสมผสานกิจกรรมทรัพยากร 4) การนำองค์การเอกชนหน่วยงานการเกษตรที่เกี่ยวข้อง ระบบการตลาด ตลอดจนการนำผลผลิตการเกษตรของกลุ่มมาแสดงและจำหน่ายเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม 5) กรณีจัดงานวันสาธิตแปลงใหญ่รูปแบบกลุ่มเน้นความเป็นโครงสร้างการบริหารงานกลุ่มสถิติข้อมูลและกิจกรรมรวมของกลุ่ม 6) การนำเกษตรกรในจังหวัดหรือจังหวัดใกล้เคียงชมงานและทัศนศึกษา สำหรับรูปแบบการจัดงานแบ่งเป็น 5 ส่วน คือ 1) จุดรวมพล 2) สภาพของไร่นาเดินก่อนเข้าร่วมโครงการการจัดการไร่นา 3) การเลือกกิจกรรมการเกษตร 4) ผลตอบแทนและประโยชน์จากการดำเนินงานแสดงรายได้ รายจ่าย กำไร และวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบเพื่อประกอบการตัดสินใจ 5) การตลาดแสดงผลิตภัณฑ์สินค้า ระบบและวิธีการตลาด สรุปผลตอบถามปัญหาและประเมินผล การจัดงานดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการโดยจัดทำเป็นโครงการนำร่อง ในปีงบประมาณ 2531 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2531 ที่บ้านเกาะจาก หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะทวดและบ้างแสงวิมาน หมู่ที่ 13 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยพลิกผืนนาบริเวณ ลุ่มแม่น้ำปากพนังเป็นไร่นาสวนผสม มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 21 ราย พื้นที่ 102 ไร่ และในงบประมาณ 2532 ได้จัดงานสาธิตการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการไร่นา จำนวน 6 ครั้ง ใน 6 จังหวัด คือ จังหวัดสกลนคร ลพบุรี ลำพูน ชุมพร สมุทรปราการ และราชบุรี โดยมีประเด็นเน้นหนักในลักษณะไร่นาสวนผสม ซึ่งรูปผสมสาน ซึ่งมีรูปแบบต่าง ๆ จะนำไปขยายผลใน 40 จังหวัด ในปีงบประมาณ 2533 ต่อไป