รายละเอียดบทคัดย่อ


ไพโรจน์ สุวรรณจินดา, ปกรณ์ อุทัยพันธุ์, ทิพย์สุคนธ์ พลชัย, สัมพันธ์ เกตุชู, บุญศรี จุลพูล และ มณฑา สัตพัน. 2533. การศึกษาการปลูกพืชสามพืชในระบบการปลูกพืชที่มีข้าวเป็นหลักในเขตใช้น้ำฝน จังหวัดพัทลุง.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.409-415.

บทคัดย่อ

         พื้นที่นาเขตดอนใช้น้ำฝนในภาคใต้ที่มีการระบายน้ำดี และการกระจายตัวของฝนค่อนข้างดี เกษตรกรจะปลูกถั่วลิสงเป็นพืชแรกในช่วงกลางเดือนมีนาคาถึงต้นเดือนเมษายน และจะเก็บช่วงปลายเดือนมิถุนายน หรือต้นเดือนกรกฎาคม แล้วจะรอเวลาปลูกข้าวนาปีประมาณกลางเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม จะเห็นว่าเกษตรกรปล่อยที่นาปีการเพาะปลูก 2531/2532 ได้นำพืช 4 ชนิด คือ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพดหวาน มันเทศ ไปทดลองปลูกพืชเป็นพืชที่สอง ในพื้นที่ตำบลพนมวังก์ และตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ผลการทดลองปรากฏว่าได้ผลผลิตเฉลี่ยของแต่ละพืช 88 กก., 85 กก., 6,220 ฝัก และ 1,325 กก.ต่อไร่ ตามลำดับ สำหรับถั่วเหลือง และถั่วเขียวนั้น มีปัญหาเรื่องคุณภาพของผลผลิตเนื่องจากการปลูกพืชที่สองเป็นช่วงที่ปลูกพืชเข้าหาฤด ูฝน ดังนั้นพืชที่มีความเป็นไปได้ในการปลูกเป็นพืชที่สองจึงควรเป็นพืชที่ขายผลผลิตสด คือ ข้าวโพดหวานและมันเทศ จึงได้นำพืชสองชนิดนี้ไปทดลองปลูกซ้ำในปีการเพาะปลูก 2532/2533 และได้ขยายพื้นที่การทดลองไปอีกตำบลหนึ่ง คือ ตำบลแพรกหาโดยระบบพืชที่ทำการศึกษา คือ ถั่วเขียว-ข้าวโพดหวาน-ข้าว, ถั่วลิสง-ข้าวโพดหวาน-ข้าว และถั่วลิสง-มันเทศ-ข้าว ผลการทดลองปรากฏว่า ข้าวโพดหวานให้ผลผลิตเฉลี่ย 8,300 ฝัก/ไร่ และ มันเทศให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,745 กก./ไร่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เหนือต้นทุนการผลิตที่เป็นเงินสดของแต่ละระบบ ดังนี้ 5,669, 7,459 และ 5,476 บาท/ไร่ ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรที่ปลูก ข้าวเพียงพืชเดียว จะมีรายได้เหนือต้นทุนการผลิตที่เป็นเงินสด 1,296 บาท/ไร่ และระบบการปลูกพืชที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก คือ ระบบถั่วลิสง-ข้าว จะมีรายได้เหนือต้นทุนการผลิตที่เป็นเงินสด 2,530 บาท/ไร่ นอกจากนี้การปลูกข้าวโพดหวานและมันเทศเป็นพืชที่สองยังให้ผลผลิตเป็นเศษเหลือของลำต ต้นและใบ ซึ่งสามารถนำไปใช้เลี้ยง สัตว์ได้เป็นอย่างดีโดยเฉลี่ย 2,016 และ 3,601 กก./ไร่ ตามลำดับ