รายละเอียดบทคัดย่อ


ไพศาล ช่วงฉ่ำ และ ทรงศักดิ์ สุรัฐติกุล. 2531. การใช้การวิเคราะห์พื้นที่และการประเมินสภาวะชนบทแบบเร่งด่วนระบุสภาพพื้นที่เพื่อจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในระดับพื้นที่: กรณีโครงการเมืองสรวง อ. เมืองสรวง จ. ร้อยเอ็ด.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 5 : . ระหว่างวันที่ 4-7 เมษายน 2531 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.  น.239-262.

บทคัดย่อ

         ข้อสำคัญของกระบวนการทำแผนพัฒนาการเกษตรก็คือ ลักษณะกรอบงาน หรือนโยบายที่เป็นลักษณะ Top - down นั้น ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาจริงในพื้นที่ การยึดกรอบหรือนโยบายดังกล่าวมักเกิดปัญหาในทางปฏิบัติประการสำคัญอีกอย่างคือ การขาดการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกระบวนการทำแผน ดังนั้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงมักไม่ถูกการยอมรับหรือใช้เวลานาเกินไป และประการสำคัญคือ พื้นที่แต่ละแห่งมีความแตกต่าง หลากหลายแผนพัฒนาการเกษตรควรเกิดขึ้นจากการเข้าใจสภาพพื้นที่นั้นอย่างถ่องแท้ แล้วจึงนำข้อมูลหรือข้อสรุปของสภาพพื้นที่นั้น ๆ ไปวางแผนพัฒนาต่อไปจึงจะได้แผนพัฒนาฯ ที่สอดคล้องต่อปัญหาอุปสรรคของพื้นที่นั้น ๆ ตลอดจนเสริมศักยภาพของพื้นที่นั้น ๆ ได้อย่างแท้จริง การใช้กระบวนการวิเคราะห์พื้นที่ (Area Analysis) และการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน (Rapid Rural Appraisal) ทำการวิเคราะห์พื้นที่ใด ๆ ก่อนแล้วนำผลไปประกอบการวางแผนพัฒนาการเกษตร ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้เป็นเครื่องมือที่สำคัญ สำหรับเจ้าหน้าที่การเกษตรระดับต่าง ๆ นำไปพิจารณาใช้ประโยชน์ต่อไป กรณีโครงการเมืองสรวง อ.เมืองสรวง จ.ร้อยเอ็ด ไดใช้กระบวนการดังกล่าวในการวางแผน ยังพบว่า ผลของการวิเคราะห์พื้นที่และการประเมินสภาวะชนบทแบบเร่งด่วนสามรรถช่วยให้ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในหลาย ๆ ด้านของการพัฒนาการเกษตรสามารถนำข้อมูลไปกำหนดแผนงานได้ดียิ่งขึ้น เช่น กรมชลประทาน กรมประมง กรมส่งเสริมสหรณ์ กรมปศุสัตว์ กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานในสังกัดกรมวิชาการเกษตร หน่วยป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยเพาะกรมส่งเสริมการเกษตร และแม้แต่กรมการปกครอง ทั้งยังช่วยให้เกิดการประสานงานกันดียิ่ง ไม่กำหนดงานซ้ำซ้อน ลักษณะงานยังเกื้อหนุนกันและเน้นแก้ปัญหาหลักรองของแต่ละหมู่บ้านอย่างสอดคล้องต่อสภาพความรุนแรงของปัญหาได้อย่างดียิ่ง คาดว่าในอนาคตคงจะมีการพัฒนาเครื่องมือเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีก