รายละเอียดบทคัดย่อ


กนก ผลารักษ์, สุจินต์ สิมารักษ์, ประพาส นวนสำลี และ สุเธียร นามวงศ์. 2533. ประมงหลังบ้าน: เพิ่มอาหารโปรตีนของชนบทอีสาน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.191-203.

บทคัดย่อ

         การศึกษาการเลี้ยงปลาแบบหลังบ้านนี้ ใช้ขบวนการศึกษาตามแนวความคิดและวิธีการวิจัยระบบการทำฟาร์มคือ การวิเคราะห์ระบุปัญหา วางแผนการทดสอบและทดสอบไร่นาโดยมีเกษตรกรเป็นผู้ดำเนินการ ผลการทดสอบพบว่า เกษตรกรสามารถใช้แหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วเกือบทุกรูปแบบในการเลี้ยงปลาโดยไม่ต้องสูบน้ำจากบ่อ หรือใช้วิธีการตามทฤษฎีมากนักซึ่งจะทำให้้ไม่ขัดกับระบบฟาร์มเดิม ทำให้เกษตรกรยอมรับได้ง่าย การศึกษาพบว่า เกษตรกรใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่ตนมีอยู่หลายประการ เช่น ใช้เพื่อสำรวจน้ำสำหรับการตกกล้า ดำนา ปลูกผัก ดักปลา เก็บปลาธรรมชาติ เช่น ปลาช่อนปลาหมอ ปลากระดี่ การเลี้ยงปลาแบบหลังบ้านนี้กระทำโดยใช้ลูกปลาขนาด 6-8 ซม. ให้อาหารบ้างในระยะแรก ปริมาณและชนิดอาหารขึ้นกับความพร้อมของเกษตรกรแต่ละราย ขนาดของแหล่งน้ำที่เลี้ยงได้ผลดีนั้นใช้ได้ตั้งแต่ขนาด 100 ตารางเมตรไปจนถึง 2,500 ตารางเมตร ทั้งนี้ปล่อยพันธุ์ปลาในอัตรา 1.5 ตัวต่อตารางเมตร หรือน้อยกว่านี้โดยไม่มีการกำจัดปลาธรรมชาติและไม่ต้องล้างบ่อ จะได้อัตราการเลี้ยงรอด 60% และได้ผลผลิตเฉลี่ย 87 + 66 กก./ไร่ และผลผิตดังกล่าวจะได้ทั้งปลาที่ปล่อยเลี้ยงและปลาธรรมชาติ รวมกัน ในแง่หาวัตถุประสงค์ที่จะให้เกษตรกรมีการบริโภคปลามากขึ้นนั้น วิธีการเลี้ยงแบบนี้จะได้ผลมากเพราะเกษตรกรสามารถจับปลามาบริโภคได้ตั้งแต่ 2 เดือนหลังปล่อยพันธุ์ปลาจากผลการทดสอบใน 4 หมู่บ้านกับเกษตรกรจำนวน 95 รายด้ยวิธีการผลิตนี้ เกษตรกรจะมีปลาเพิ่มจากเดิม 60 + 61 กก./ครัวเรือน และเกษตรกรบริโภคปลา 46 + 39 กก./ครัวเรือน/ปี นอกเหนือจากปลาตามแหล่งธรรมชาติที่เกษตรกรได้รับอยู่แล้ว