รายละเอียดบทคัดย่อ


กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2527. การวิจัยและการพัฒนาระบบการทำฟาร์มในพื้นที่เขตใช้น้ำฝนตามโครงการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรภาคเหนือ.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 1 : . ระหว่างวันที่ 2-5 เมษายน 2527 ณ โรงแรมวังใต้ จ.สุราษฎร์ธานี.  น.90-104.

บทคัดย่อ

         โครงการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรภาคเหนือ (Thai-Australia-World Bank Land Development Project - TAWLD) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่ในเขตเกษตรน้ำฝนให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างถาวรและมีประสิทธิภาพ พื้นที่เหล่านี้อยู่ในระดับขึ้นบันไดขั้นต่ำจนถึงขั้นกลางในภาคเหนือของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เคยถูกใช้ประโยชน์ในลักษณะของการทำไร่เลื่อนลอยทำให้ที่ดินเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ในขั้นแกของการพัฒนาคือการพัฒนาที่ดินทางกายภาพโครงการฯ ได้ใช้เครื่องจักรกลหนักทำการบุกเบิกพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม กำจัดต้นไม้ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพุ่มขนาดเล็กที่เจริญเติบโตขึ้นภายหลังจากการทิ้งพื้นที่ ในระบบการทำไร่เลื่อนลอย (Dipterocarp -b bamboo secondary regrowth) ตลอดจนตอไม้และรากไม้จะถูกขุดออกเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเจริญเติบโตซ้ำขึ้นมาอีก เสร็จแล้วจะมีการสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ได้แก่ คันดิน กั้นน้ำ ทางระบายน้ำ บ่อน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น ตลอดจนทางลำเลียงในไร่นาเพื่อให้พื้นที่เหล่านั้น พร้อมที่จะทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับพื้นที่ที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเพื่อทำการปลูกพืชไร่จะถูกพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมกับการปลูกป่าไม้ใช้สอยหรือไม้โตเร็วต่อไป หลังจากพื้นที่ดินเสื่อมโทรม ได้รับการพัฒนาที่ดินทางกายภาพจนพื้นที่เหล่านั้นสามารถใช้ทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังไม่อาจจะประกันได้ว่าพื้นที่เหล่านั้นจะมีประสิทธิภาพเช่นนั้น ตลอดไป โครงการฯ จึงได้มีขั้นตอนที่สำคัญอันจะสนับสนุนให้การใช้ประโยชน์ที่ดินได้รับการพัฒนาทางกายภาพแล้วมีประสิทธิภาพในการผลิตอย่างสม่ำเสมอและถาวร ซึ่งได้แก่ ขึ้นตอนการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชเพื่หาข้อมูลนำไปแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปฏิบัติต่อพื้นที่เพาะปลูกของตนอย่างถูกต้อง กล่าวคือ ในการทำการเกษตกรรมบนที่ดอนแบบอาศัยน้ำฝนจะมีปัจจัยหลายอย่างเป็นข้อจำกัด ได้แก่ ความแปรปรวนทั้งปริมาณและการกระจายของน้ำฝน การเสื่อมโทรมของดินทั้งทางเคมี ทางกายภาพ และทางชีวภาพ อันเกิดมาจากที่ดินถูกชะล้างพังทลาย ทำให้ศักยภาพในการผลิตของดินในระยะเวลาลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว เหล่านี้เป็นปัญหาที่ทำให้ก่อนที่จะทำการส่งเสริมพัฒนาที่ดินให้เกษตรกรได้ปฏิบัติต่อไป