รายละเอียดบทคัดย่อ


คำรณ ไทรฟัก. 2534. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อิลวิสเพื่อการวางแผนการใช้ที่ดิน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.251-259.

บทคัดย่อ

         ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากกับชีวิตของมนุษย์ นับแต่ นีลอารมสตรอง ได้เหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรก ความตื่นตัวทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านอวกาศส่วนหนึ่งนั้นคือ ความเจริญด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรกใช้ในด้านคำนวณ ยุคต่อมาความเจริญด้านข้อมูลระยะไกลพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการส่งดาวเทียมหลายดวงเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น ทางทหาร การสื่อสาร การสำรวจทรัพยากร การพยากรณ์อากาศ การใช้ข้อมูลระยะไกล ถึงแม้จะมีมานานไม่ต่ำกว่า 30 ปี แต่การใช้ประโยชน์ก็จะอยู่ในวงจำกัด ทั้งนี้เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์มีราคาแพง ทั้งในส่วน Hardware และ Software รวมทั้งบุคลาการที่จะใช้ จะต้องได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะ เนื่องจากประโยชน์ของข้อมูลระยะไกลนั้นเป็นรูปธรรม ทุกคนก็อยากใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่เคยทำอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ทั้งในส่วนผู้ผลิตด้าน Hardware และ Software ซึ่งมีทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ตลอดจนองค์กรต่าง ๆ นอกจากนี้ในส่วนของบุคคลากรก็มีการตื่นตัวในการเรียนรูงวิทยาการด้านข้อมูลระยะไกลอย่างรวดเร็ว ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าข้อมูลระยะไกลมีมากมาย หลาย Band หลายมาตรส่วน มีให้เลือกทั้ง สี ขาว ดำ ระดังความละเอียด(resolution) ถึงแม้ว่ารูปลักษณ์ของข้อมูลระยะไกลจะให้ความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ใช้อย่างมาก แต่การจะใช้ให้มีประสิทธิภาพ ประการสำคัญคือ ต้องสามารถบอกได้ว่า เป็นภาพบริเวณใด คือจะต้องทราบจุดพิกัดและกำหนด Land mark ได้กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทราบค่า grid หรือเส้นรุ้งเส้นแวง การนำแผนที่หลายประเภทของบริเวณเดียวกันมาศึกษาร่วมกันจะเกิดความยุ่งยาก ถ้าต้องการนำแผนที่มาซ้อนทับกันจำเป็นที่ต้องลงบนกระดาษใส หรือแผ่นฟิล์ม ถ้าแผนที่มีมาตราส่วนต่างกัน จะต้องมีการย่อขยาย ความถูกต้องก็ยิ่งลดน้อยลงเรื่อย ๆ ตามขั้นตอนที่เพิ่มมากขึ้น