รายละเอียดบทคัดย่อ


จรัญ จันทลักขณา. 2532. แนวโน้มการวิจัยทางเกษตรในสถาบันวิจัยนานาชาติ.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 6 : . ระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม 2532 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ. ขอนแก่น.  น.1-8.

บทคัดย่อ

         วันนี้ผมรู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสมาร่วมการสัมมนาครั้ง ดร.เทิด บอกไว้ก่อนที่ผมจะไปเม็ก ซิโกว่าจะให้ผมมาพูดเรื่องอะไรก็ได้เกี่ยวการเกษตรนานาชาติว่ามีความเคลื่อนไหวอย่างไร ผมเข้าใจว่า ดร.เทอดให้ผมมาพูดในครั้งนี้คงไม่ใช่ฐานะที่ผมเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ควาย อย่างที่ท่านประธานแนะนำไป แต่ เนื่องจากว่าในระบบวิจัยเกษตรนานาชาตินั้น เขามีกรรมการอยู่ชุดหนึ่งเรียกว่า Technical Advisory Committee หรือ TAC และผมเองก็เป็นกรรมการของ TAC อยู่คนหนึ่ง ก็ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมรู้เห็นเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของการวิจัยระบบการเกษตรนานาชาติ จึงตั้งใจจะเล่าให้ฟังจากประสบการณ์เท่าที่ได้ร่วมอยู่ในวงการวิจัยเกษตรนานาชาติ เพราะพอที่จะทราบความเคลื่อนไหวในวงการวิจัยนานาชาติว่าเป็นอย่างไรบ้าง ประการแรกก่อนที่จะเข้าเรื่องนะครับ ผมอยากจะเล่าถึงภูมิหลังเสียก่อนว่าในวงการวิจัยนานาชาติที่เราพูดถึงนั้นหมายถึง องค์การที่เรียกว่า CGIAR คนที่รู้จักดีเรียกย่อ ๆ ว่า C.G. ถ้าเรียกชื่อเต็ม ๆ คือ consultative Group on International Agricultural Research เป็นองค์กรที่ฝ่ายผู้ให้ความช่วยเหลือ (donor) รวมกันคล้าย ๆ เป็นสโมสรอย่างนั้นนะครับ มีผู้สนับสนุนร่วมอยู่ 3 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งนั้นที่เรารู้จักดีคือ FAO ฝ่ายที่ 2 ก็รู้จักดีเพราะเราเป็นลูกหนี้เขาอยู่คือ World Bank และฝ่ายที่ 3 คือ UNDP 3 หน่วยงานนี้รวมตัวกันเข้าเป็น Co-sponsor ในการที่จะจัดการให้ประเทศซึ่งให้เงินช่วยเหลือในปัจจุบันซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 - 60 ประเทศ ได้มาพบปะกันปรึกษาหารือและตกลงในการให้ความช่วยเหลือแก่การวิจัยเกษตรนานาชาติในแต่ละปี เพราะฉะนั้นระบบที่เรียก CGIAR นี้ก็คือเป็นสโมสร ซึ่งแต่ละปีนี้ประเทศซึ่งให้ความช่วยเหลือในการวิจัยเกษตรจะมาพบกันปีละ 2 ครั้ง กลางปีเขาจะประชุมกันเดือนพฤษภาคม ปีนี้จะประชุมกันที่ Canberra ประเทศออสเตรเลีย กลางเดือนพฤษภาคมนี้ และปลายปีจะประกันที่ Washington D.C. ทุกปีการประชุม ประเทศที่จะให้ความช่วยเหลือในการวิจัยเกษตรระดับนานาชาตินี้ ก็มาพร้อมกันที่นั่นแหละและศูนย์วิจัยนานาชาติต่าง ๆ ในเครือของระบบนี้ก็จะมาเสนอผลงานของคน และประเทศต่าง ๆ ซึ่งให้ความช่วยเหลือก็จะมาให้สัญญาปีนี้จะให้เงินสนับสนุนหรือลงขันเท่าไร ตกลง 50 - 60 ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือในงานวิจัยเกษตรนั้นในงานระบบ CGIAR นี้ปีที่ผ่านมาเป็นเงินประมาณ 240 ล้านเหรียญ ถ้าคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 6,000 ล้านบาท ในแต่ละปีประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ ทั้งหลายก็จะมาประชุมกันแบบนี้ ประชุมกันปีละ 2 หน กลางปีก็ดูความก้าวหน้า ปลายปีก็จะมาบอกว่าให้เงินเท่าหร Doner ก็จะมีทั้งที่เป็นประเทศและองค์การ ยกตัวอย่างเช่น IDRC ของแคนาดา GTZ ของเยอรมัน เป็นต้น ทีนี้ CGIAR นี้ก็มีสำนักงานเลขานุการอยู่ที่ World Bank ก็เป็นกลุ่มคนเล็ก ๆ ซึ่งไม่มีขีดความสามารถที่จะวินิจฉัยรายละเอียดในเรื่องโครงการต่าง ๆ เขาก็เลยตั้งกรรมการที่ปรึกษาขึ้นมาชุดหนึ่งเรียกว่า Technical Advisory Committee หรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า TAC นั่นเอง ผมเองก็เป็นกรรมการคนหนึ่ง กรรมการของ TAC นี้ปัจจุบันสมาชิก 14 คน มาจากประเทศที่พัฒนาแล้วครึ่งหนึ่ง ประเทศที่กำลังพัฒนาอีกครึ่งหนึ่ง และก็มีสาขาวิชาการต่าง ๆ ร่วมอยู่ในนั้น มีทั้งนักสังคมศาสตร์ด้วย มีนักเกษตรศาสตร์ โดยเฉพาะนักปรับปรุงพันธุ์พืชคือ พวก Plant Breeder มีอยู่จำนวนมากในกลุ่ม TAC TAC กลุ่มนี้ก็ทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณและเสนอให้ CGIAR ว่า ปีนี้ศูนย์นี้ควรได้เท่าไร ปีนั้นศูนย์นั้นควรได้เท่าไร ทีนี้ศูนย์วิจัย CGIAR ก็มีอยู่ 13 ศูนย์ ในปัจจุบันในระบบวิจัยนานาชาติ ยกตัวอย่างที่เรารู้จักดีก็คือ ศูนย์วิจัย IRRI (International Rice Research Institute) หรือศูนย์วิจยข้าวเรารู้จักดีก็เพราะอยู่ใกล้เราและผมก็เชื่อว่างคงจะมีนักวิจัจาก IRRI มานั่งอยู่ในประชุมนี้ด้วย เนื่องจากว่าโครงการ Farming Systems เป็นโครงการวิจัยที IRRI สนับสนุนอยู่มาก โดยเฉพาะในอดีตที่ผ่านมา ทีนี้ผมก็อยากจะเล่าให้ฟังว่า ศูนย์วิจัยนานาชาติ 13 แห่งนั้นอยู่ที่ใดบ้าง ก็เริ่มต้นที่ Asis ก่อน ก็มี IRRI คือ ศูนย์วิจัยข้าว และก็มีศูนย์วิจัย ICRISAT (International Crop Research Institute for Semi-Arid Tropies) คือ ที่ ดร.อารันต์ เคยไปทำงานที่อินเดีย ท่านคงจะเล่าอะไรให้ฟังได้ ศูนย์ ICARDA ในประเทศซีเรีย ศึกษาเกี่ยวกับพืชที่อยู่ในเขตแห้งแล้ง อันนั้นเป็น 3 ศูนย์ที่อยู่ในทวีปเอเซีย ทีนี้ไป Africa มีอยู่ 4 ศูนย์นะครับ ของระบบวิจัยนานาชาติมีศูนย์วิจัยข้าวของ Africa ที่เรียกว่า WARDA คือยู่ทางทิศตะวันตกของทวีป Africa วิจัย ข้าว โดยเฉพาะอยู่ในประเทศไอวอรีโคสต์และก็มีศูนย์วิจัยเกี่ยวกับพืชในเขตร้อน ศูนย์ IITA อยู่ในประเทศไนจีเรีย ต่อไปเป็นศูนย์ทางด้านปศุสัตว์ในอาฟริกา มีอยู่ 2 ศูนย์คือ ศูนย์ที่เกี่ยวกับโรคสัตว์เรียกว่า ILRAD อันนี้วิจัยเกี่ยวกับโรค 2 โรค คือโรค Trypanospmiais คือ โรค Sleeping sickness ในคน มีแมลงวันชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวพาหะโรคนี้ก็คือที่เราเรียกว่า Tsetse fly อีกหนึ่งคือ Theileriiosis ISRAD ตั้งอยู่ประเทศ Kenya ศูนย์วิจัยทางด้านปศุสัตว์อีกศูนย์หนึ่ง คือ ILCA (International Livestock Center for Africa) ในเอริกามีอีก 4 ศูนย์ เริ่มจากอเมริกาใต้ศูนย์มัน 2 มัน คือ มันฝรั่ง อีกอันคือ มันเทศ ที่เรารู้จักในนาม CIP อยู่ที่ประเทศเปรู ถัดมาเป็นศูนย์ CIAT อยู่ในประเทศโคลัมเบีย ศึกษามันสำปะหลัง ทุ่งหญ้า และถั่งบางชนิดของเขตร้อน ที่ประเทศเม็กซิโก มีศูนย์ CIMMYT วิจัยข้าวโพด ข้าวสาลี ซึ่ง ดร.สุจินต์ (ประธาน) ท่านใกล้ชิดกับศูนย์ที่อยู่มาก ในอเมริกาที่วอชิงตันดีซี มีอีกศูนย์หนึ่งที่เกี่ยวกับ Food Policy ที่เรารู้จักในนามของ IFPRI ในทวีปยุโรปนั้นมีอยู่ 2 ศูนย์ คือเกี่ยวกัน Germplasm โดยเฉพาะคือ IBPGR (International Board for Plant Genetic Resources) และอีกศูนย์หนึ่งก็เกี่ยวกับ Natural Research System ที่เรารู้จักในนาม ISNA อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งสิ้น 13 ศูนย์ ที่กล่าวนี้เป็นระบบการวิจัยที่เป็นองค์กรอยู่ในระบบ CGIAR ยังมีศูนย์วิจัยอื่น ๆ อีกหลายศูนย์แต่อยู่นอกระบบ CGIAR ไม่อยู่ในเครือของ CGIAR ที่เราพูดถึง แต่ละศูนย์ท่านคงจะสนใจว่าได้งบประมาณเท่าไร อย่าง IRRI ได้งบประมาณปีละ 800 - 900 ล้านบาท แต่ว่าในขณะนี้ทางระบบ CGIAR เขาเปลี่ยนระบบใหม่ให้งบประมาณครั้งเดียว 5 ปีเลย แทนที่จะให้งบประมาณเป็นปี ๆ เขาจะได้รู้ว่าใน 5 ปี เขาจะมีงบประมาณเท่าไร อันนี้เป็นระบบใหม่ซึ่งเพิ่งเปลี่ยนเมื่อตอนสมัยที่ผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วม ใน TAC 13 ศูนย์ที่เล่าไปนั้นก็เป็น 2 เรื่อง เรื่องที่หนึ่งคือความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการจัดองค์กรของการวิจัยเกษตรนานาชาติประการหนึ่ง ประการที่สองจะเล่าเรื่องวิชาการว่า ในปัจจุบันนี้ความเคลื่อนไหวให้ความสนับสนุนต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องวิชาการเกษตรนั้นมีแนวโน้มผันแปรไปอย่างไร และที่ใกล้ตัวเราคือเกี่ยวกับ Farming System Research