รายละเอียดบทคัดย่อ


ชัชรี นฤทุม, กิตติ สิมศิริวงษ์, ทิพวัลย์ สีจันทร์, ปราโมทย์ สฤษดิ์นิรันดร์, จงเจตน์ จันทร์ประเสริฐ และ G. Trebuil. 2533. การเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรกรรมและการจำแนกประเภทเกษตรกรในตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.560-572.

บทคัดย่อ

         การศึกษานี้เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบเกาตรกรรม และวิเคราะห์ถึงความแตกต่างของระบบเกาตรกรรมในช่วงเวลาต่างๆ กันของอำเภอกำแพงแสน และเพื่อศึกษาและจำแนกลักษณะของฟาร์มแต่ละประเภท เพื่อวินิจฉัยและวางแนวทางในการกำหนดโครงการวิจัยหรือการพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมสำหรับฟาร์มแต่ละประเภท ผลที่นำมาเสนอนี้เป็นผลขั้นต้น โดยข้อมูลจำนวน 16 ราย กระจายอยู่ในทุกประเภทของระบบการผลิตทางการเกษตรและทุกขนาดฟาร์ม ผลการศึกษาพบว่าในด้านการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรกรรมในเขตกำแพงแสนสามารถแสดงลำดับการเปลี่ยนแปลงหรือวิวัฒนาการของระบบเกษตรกรรมโดยจัดแบ่งระบบเกาตรกรรมออกเป็น 4 ระยะด้วยกัน โดยแต่ละระยะของระบบเกษตรกรรมจะมีลักษณะของระบบการผลิตทางการเกษตรระบบนิเวศวิทยาและสภาพทางเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกัน และกล่าวได้ว่าสาเหตุของความแตกต่างของระบบการผลิตทางการเกษตรที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคนิคที่ใช้ในการเกษตร สำหรับการจำแนกประเภทเกษตรกรนั้นสามารถจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ ฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดพื้นที่ต่อหน่วยแรงงานครอบครัวน้อยกว่า 5 ไร่ ใช้แรงงานครอบครัวเป็นส่วนใหญ่และต้องการรายได้ต่อพื้นที่สูงสุด ฟาร์มขนาดกลาง ขนาดพื้นที่ต่อหน่วยแรงงานครอบครัว 5-12 ไร่ มีการจ้างแรงงานบ้างแต่เป้นส่วนน้อยต้องการรายได้ต่อหน่วยแรงงาน การดำเนินงานฟาร์มเป็นกึ่งธุรกิจต้องการกำไรสูงสุดจากการลงทุน ฟาร์มอุตสาหกรรม เป็นฟาร์มขนาดใหญ่ ขนาดพื้นที่แรงงานต่อครอบครัวมากกว่า 25 ไร่ แรงงานส่วนใหญ่เป้นแรงงานจ้าง การลงทุนคำนึงถึงผลกำไรเป็นหลัก และต้้องการกำไรสูงสุดจากการลงทุน