รายละเอียดบทคัดย่อ


ณัฐ เทศัชบุตร, มรกต อักษรสวาสดิ์, เชิดชาย สมิโตบล, บุญโฮม ชำนาญกุล, ชุมพล มีจันทร์ และ บรรจง หาญจิต. 2539. เทคโนโลยีการปลูกถั่วเหลืองโดยไม่ไถพรวนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 11 :ระบบเกษตรกรรมเพื่อเกษตรกร สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2539 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำบีช รีสอร์ท อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี.  น.333-340.

บทคัดย่อ

         การศึกษาประกอบด้วย 2 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 ศึกษาการจัดการดินและน้ำที่มีผลต่อการปลูกถั่วเหลืองหลังนา ดำเนินการศึกษาในพื้นที่โครงการเร่งรัดการใช้น้ำใต้ดินเพื่อการชลประทาน อำเภอศรีนคร และสวรคโลก จังหวัดสุโขทัย ปีการเพาะปลูก 2530/2531 แบบแผนการทดลอง split plot design วิธีการเตรียมดินเป็น main plot ประกอบด้วยไม่ไถพรวนและใช้เครื่องหยอดแบบเมล็ดแบบ 2 แถว กับวิธีการเตรียมดินโดยไถพรวนและปลูกด้วยวิธีการหว่าน รอบเวรการให้เป็น sub plot ประกอบด้วยรอบเวรการให้น้ำทุก 1 5วัน รวม 6 ครั้ง 20 วัน รวม 5 ครั้ง รวม 4 ครั้ง ผลการทดลอง วิธีการไม่ไถพรวนใช้นำชลประทานสำหรับถั่วเหลืองเฉลี่ยครั้งละ 7.1 ซม. วิธีการไถพรวนใช้น้ำครั้งละ 13.9 ซม. วิธีการเตรียมดินและระยะเวลาของรอบเวรการให้น้ำมี ปฏิสัมพันธ์ทางสถิติ วิธีการไม่ไถพรวนและปลูกด้วยเครื่องหยอด เมื่อรอบเวรการให้น้ำทุก 15 และ 20 วัน ได้ผลผลิต 319 และ 328 กก./ไร่ สูงกว่าวิธีการเตรียมดินและปลูกโดยวิธีหว่าน แต่เมื่อให้น้ำทุก 25 วัน ซึ่งเป็นวิธีเกษตรกรปฏิบัติให้ผลตอบแทนจากการผลิตต่ำสุดเท่ากับ 739 บาท/ไร่ การนำกรรมวิธีทดลองที่ได้ผลดี คือ วิธีไม่ไถพรวนและปลูกโดยเครื่องหยอดเมล็ดแบบ 2 แถว ไปทำการทดสอบในนาเกษตรกรแปล่งใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ในช่วงปี 2532 - 2538 ผลการทดสอบปรากฏว่าวิธีไม่ไถพรวนและปลูกด้วยเครื่องหยอด ได้ผลผลิต 321 กก./ไร่ ผลตอบแทนจากการผลิต 1,469 บาท/ไร่ ในขณะที่วิธีที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ทั่วไป คือ วิธีการหว่านได้ผลผลิต 248 กก./ไร่ ผลตอบแทนจากการผลิต 796 บาท/ไร่