รายละเอียดบทคัดย่อ


ณัฐวุฒิ ภาษยะวรรณ, บุญเทียม เลิศศุภวิทย์นภา, ชูศักดิ์ คชาธาร, ศรีลา ชุมภูวัน, สมเจตน์ สุยานะ, นิวัฒน์ ศุภจิตรานนท์, สมเกียรติ โสภณพงศ์พิทักษ์, น้อมชัย คลี่ฉายา และ โชคชัย ศุภศันทนีย. 2533. กรณีศึกษาเรื่อง เงื่อนไขของการขยายผลและการยอมรับการเลี้ยงปลาในนาข้าวพื้นที่โครงการพัฒนาเขตปฏิรูปที่ดิน จังหวัดพิจิตร.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.217-235.

บทคัดย่อ

         กรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและทำความเข้าใจในรูปแบบและระบบการเลี้ยงปลาในนาข้าวของเกษตรกรพื้นที่โครงการพัฒนาเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจิตร และ (2) ศึกษาและจำแนกเงื่อนไขของการตัดสินใจและยอมรับในระบบการเลี้ยงปลาในนาข้าวของเกษตรกรในการทีจะนำแนวทางและลู่ทางในการขยายในพื้นที่อื่นต่อไป ทำการศึกษาที่หมู่บ้านหนองจิก หมู่ 5 ต.หนองโสน บ้านหนองหญ้าปล้อง และบ้านมาบฝาง หมู่ 13 ต.บ้านนา อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร รวมเกษตรกรที่มีการศึกษารวม 32 ราย วิธีการศึกษา ให้การศึกษาแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi - Structure) การสัมภาษณ์เกษตรกร ใช้เทคนิคการประเมินสภาวะชนบทแบบเร่งด่วน (RRA) โดยแบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็นกลุ่มแบบ (Triangulation) ได้แก่ (1) เกษตรกรเคยเลี้ยงปลาในนาข้าว แล้วเลิกทำ (2) เกษตรกรเคยทำแล้วยังทำอยู่ และ (3) เกษตรกรที่ไม่เคยทำและอยากจะทำ คณะหรือทีมผู้ศึกษาประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพิจิตร สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร หน่วยงานเอกชน โดยมี หน่วยงานเอกชน โดยมี หน่วยวิจัยและพัฒนาระบบการทำฟาร์มพิษณุโลก เป็นผู้ประสานงานระยะเวลาที่ศึกษาตั้งแต่เดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2532 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เป็นปัญหาของการเลี้ยงปลาในเขตโครงการฯ ด้านกายภาพ และชีวภาพ ซึ่งก่อนให้เกิดเงื่อนไขของการยอมรับและขยายผลนั้น ไม่แตกต่างระหว่างกลุ่มเกษตรกรในการศึกษา ปัจจัยด้านกายภาพ ได้แก่ สภาพพื้นที่ เช่น ความลาดเท (ดอน - ลุ่ม) แหล่งน้ำหรือแหล่งที่จะผันน้ำจากคลอง คู ธรรมชาติเข้ามาในนาเพื่อล่อปลาธรรมชาติ ตลอดการที่มีบ่อล่อ / ดักปลาอยู่หรือไม่ จะเป็นปัจจัยที่เกษตรกรเลี้ยงปลาในนาข้าวหรือไม่ เกษตรกรส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันปลาธรรมชาติลดลง เนื่องจากการพัฒนาด้านสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ปัจจัยด้านชีวภาพที่เป็นปัญหาและเงื่อนไขนั้น ค่อนข้างมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกนึกคิดหรือปัจจัยด้านสังคม การศึกษาพบว่าเกษตรกรจะมุ่งเรื่องการปลูกข้าว ซึ่งเป็นพืชหลัก ก่อนที่จะสนใจกิจกรรมอื่น รวมทั้งการเลี้ยงปลาในนาข้าว แหล่งของพันธุ์ปลา เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งเกษตรกรมีความสามารถจำกัดในการหาซื้อเกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่า ชนิด ขนาด และช่วงเวลาปล่อยปลาไม่มีความสำคัญเท่าใดเนื่องจากส่วนใหญ่พึ่งพันธุ์ปลาแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งจะมากับน้ำ ระหว่างฤดูน้ำหลาก หรือเก็บจากแหล่งปลาใกล้เคียง ในช่วงต้นฤดูฝน การใช้สารเคมีในนาข้าว เป็นปัจจัยและเงื่อนไขที่เกษตรกรเลิกการเลี้ยงปลาในนาข้าว เนื่องจากเป้าหมายอยู่ที่ข้าว ซึ่งมีการใช้สารเคมีและเลิกเลี้ยงปลาเกษตรกรบางรายให้ข้อคิดว่า แมลงศัตรูลดลง เมื่อมีการเลี้ยงปลาควบคู่ด้วย สำหรับผลผลิตปลานั้นเกษตรกรมักไม่คำนึง หากเป็นการเลี้ยงเพื่อกรบริโภค การศึกษาด้านสังคม พบว่า เป้าหมายการเลี้ยงปลาในนาข้าว เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดการขยายผลและการยอมรบเกษตรกรมที่ตั้งเป้าหมายของการเลี้ยงปลาในนาข้าวเพื่อการขยาย เมื่อไม่ประสบผลสำเร็จ ผลผลิตต่ำ แล้ว ประสบภาวะการขาดทุนก็จะเลิกเลี้ยง เกษตรบางรายได้ความเห็นว่า ทำแล้วเลิกจากระหว่างที่ทำได้การรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก สำหรับเกษตรกรที่ยังทำอยู่นั้น จะตั้งเป้าหมายเริ่มแรกด้านการบริโภคและเหลือขายจึงยังคงทำให้โดยไม่คำนึงด้านการกำไรมากนัก การศึกษายังพบว่า รูปแบบการเกษตรกรผสมผสานนั้น เป็นผลต่อเนื่องจากกิจกรรมหนึ่งสู่กิจกรรมหนึ่ง ได้แก่ การเสริมคันนา เพื่อกักเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยงต้นข้าว จะมีกิจกรรมเลี้ยงปลาควบคู่และไม้ผล พืชผักบนคันนานั้น เป็นสิ่งที่ตามมาเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่นั้น รูปแบบการพัฒนาการเกษตรผสมผสานลักษณะเช่นนี้ นำไปสู่การพึ่งพาตนเองระยะ ควรที่ศึกษาและจับตามมองอย่างยิ่ง