รายละเอียดบทคัดย่อ


ดำเกิง จันทรปัญญา และ ไพโรจน์ สุวรรณจินดา. 2527. งานวิจัยและพัฒนาระบบการทำฟาร์ม.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 1 : . ระหว่างวันที่ 2-5 เมษายน 2527 ณ โรงแรมวังใต้ จ.สุราษฎร์ธานี.  น.127-135.

บทคัดย่อ

         การกสิกรมแบบพื้นบ้านของเกษตกรไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยนั้น จะมีกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง ซึ่งมีการผสมผสานขั้นพื้นฐานกันในอันที่จะสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ดังนั้น วิทยาการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะกับสภาพความเป็นจริงของการดำรงชีพของเกษตรกรทั่วไป ต้องอยู่ในรูปแบบของสหสาขาวิชาที่ผสมผสานเข้าเป็นระบบ กล่าวคือต้องอยู่ในลักษณะงานวิจัยการทำฟาร์มอันเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีต่าง ๆ ในรูปลักษณะเพื่อให้เกิดความสมดุลย์กันระหว่างวิธีการผลิ ปัจจัยหรือทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต และสภาพแวดล้อมทั้งทาเกษตรศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ดังนั้น งานวิจัยการทำฟาร์มจึงเป็นงานวิจัยที่มุ่งยึดเอาครอบครัวและพื้นที่ของเกษตรกร ซึ่งอาจจะเป็นไร่นาและสวนทั้งพื้นที่เป็นหลัก รวมเอากิจกรรมที่เกษตรกรทำอยู่ ไม่ว่า พืช สัตว์ ประมง และรายได้นอกฟาร์มเข้าด้วยกัน โดยคำนึงถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงวางรูปแบบองค์ประกอบและกิจกรรมฟาร์มอย่างอื่นที่มาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหลักซึ่งอาจจะเป็นพืช สัตว์หรือการประมงก็ได้ให้มีสัดส่วนที่ทำให้กิดสมดุลย์ภายในฟาร์ม และแต่ละกิจกรรมจะมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สถาบันวิจัยการทำฟาร์ม ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2525 ตามแผนงานปรับปรุงโครงสร้าใหม่ของกรมวิชาการเกษตร ตามโครงการวิจัยเกษตรแห่งชาติ มีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงต่อการวิจัยและการพัฒนาระบบการทำฟาร์ม ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศ จากรูปแบบหือลักษณะของงานวิจัยการทำฟารณ์มดังกล่าวข้างต้น ก็พอจะชี้ให้เห็นข้อแตกต่างของการดำเนินงานวิจัยการทำฟารณ์มกับงานวิจัยของหน่วยงานวิจัยอื่น ๆ