รายละเอียดบทคัดย่อ


ธนวัฒน์ รัตนถาวร, ณัฐวุฒิ ภาษยะวรรณ, บรรจงศักดิ์ ภักดี และ ประภานุวรรณ ยาวิชัย. 2539. ระบบพืชผสมผสานเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรดินบนที่สูงจังหวัดเชียงราย.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 11 :ระบบเกษตรกรรมเพื่อเกษตรกร สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2539 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำบีช รีสอร์ท อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี.  น.154-159.

บทคัดย่อ

         พื้นที่สูงที่มีการทำไร่เลื่อนลอยและแผ้วถางปลูกพืชเศรษฐกิจ ปัจจุบันป่าไม้ได้ลดจำนวนลงมากและเกษตรกรบนที่สูงไม่สามารถย้ายพื้นที่เพาะปลูกได้ จำเป็นต้องปลูกพื้นที่เดิมทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง การชะล้าง การพังทะลายของหน้าดินมีเพิ่มากขึ้นเนื่องจากไม่มีพืชหรือสิ่งคลุมดิน เมื่อฝนตกหรือมีลมพัดแรง หน้าดินสูญเสียไปมากน้อยต่างกันขึ้นกับชนิดของดินปริมาณของฝน และชนิดพืชที่ปลูก การปลูกไม้ผลบนที่สูงก็เช่นเดียวกัน ซึ่งบางพื้นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จำเป็นต้องปลูกเพื่อแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายของชาวไทยภูเขาดังนั้น ควรมีการจัดหาพื้นที่ปลูก การเตรียมที่เหมาะสมไม่ให้หรือมีการพังทะลาย การชะล้างของดินน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงการใช้ระบบการปลูกพืชเข้ามาช่วยในการอนุรักษ์ด้วย การใช้ไม้ผล แซมด้วยไม้ผล และการทำขั้นบันไดก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรของดินไว้ รวมถึงการใช้พืชล้มลุกมาปลูกในช่วงแรก ๆ ของการปลูกไม้ผลแซมไปด้วยก็เป็นแนวทางหรือวิธีการใช้พืชล้มลุกมาปลูกในช่วงแรก ๆ ของการปลูกไม้ผลแซมไปด้วยก็เป็นแนวทางหรือวิธีการที่ได้รายได้จากพืชล้มลุก รวมถึงคลุมดินเมื่อไม้ผลยังเล็กอยู่ไม่สามารถคลุมพื้นที่ได้ การทำแปลงทดสอบได้ดำเนินการที่ดอยแม่สลอง กิ่งอ. แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยทำแบบขั้นบันได มีการปลูกไม้ผลแซมด้วยไม้ผล บ๊วย x ท้อ, บีวย x พลัม, พลับ x ท้อ, พลับ พลัม แล้วปลูกข้าวไร่หรือพืชล้มลุกในช่วงแรก ในปีที่ผ่านมาปลูกถั่วแดงหลง ได้ผลผลิต 82 กก./ไร่ และในฤดูฝนต่อไปนำพันธุ์ข้าวเจ้าของกรมวิชาการเกษตร 3 พันธุ์ไปทดสอบคือพันธุ์เจ้าฮ่อ น้ำรู และเจ้าขาว โดยมีพันธุ์ข้าวของชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า 2 พันธุ์คือข้าวจ้าวแดง และข้าวเจ้าขาว รวมทั้งหมด 5 พันธุ์ โดยมีผลผลิตดังนี้ คือ เจ้าฮ่อ น้ำรู เจ้าขาวให้ผลผลิต 30.2.4, 294.4 และ 256.8 กก.ไร่ โดยที่ข้าวเจ้าแดง และข้าวเจ้าของอาข่า ให้ผลผลิต 294.6 และ 319.2 กก./ไร่ ตามลำดับ pH ของดินก่อนการปลูกข้าว 6.3 หลังการปลูกข้าว pH 5.3 ค่าของฟอสฟอรัส (P) ก่อนการปลูกข้าว 10.4 ppm หลังปลูกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 15.05 ppm สำหรับโพแทสเซียม (K) อยู่ระดับสูง ก่อนการปลูกข้าว 418.8 ppm หลังปลูกลดลงเหลือ 243.8 ppm อินทรีย์วัตถุก่อนการปลูกข้าวมี 5.3 เปอร์เซ็นต์ หลังปลุกข้าวเหลือ 4.9 เปอร์เซ็นต์