รายละเอียดบทคัดย่อ


ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. 2534. ปัญหาและโอกาสของระบบเกษตรผสมผสานบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.174-184.

บทคัดย่อ

         ที่ดอนของภาคเหนือตอนบนมีพื้นที่ประมาณ 9 ล้านไร่ หรือร้อยละ 17 ของภาคเหนือตอนบนทั้งหมด เป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อระหว่างที่ราบลุ่มและที่ภูเขาสูง โดยอยู่ที่ระดับความสูง 300-500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล (สวัสดี 2527) ธรรมชาติของที่ดอนนั้นเป็นเนินสูงต่ำ สลับกับที่ราบกระจัดกระจายตามหุบเขาทั่วป บางแห่งเป็นพื้นที่อับฝน เมื่อที่ดอนได้ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำได้เป็นอุปสรรคที่สำคัญ การขาดแคลนน้ำประกอบกับกรที้องอิงน้ำฝนเป็นหลัก จึงมักเรียงอย่างต่อเนื่องว่าที่ดอนอาศัยน้ำฝน อันเป็นการชี้ลักษณะโดยเฉพาะของเกษตรนิเวศน์นี้ ลักษณะที่ดอนกึ่งหนึ่งคล้ายกับที่สูงมีที่ลาดชันปะปนอยู่ จึงพบปัญหาความเสื่อมโทรมทรัพยากรธรรมชาติ ดินมีการถูกชะล้างหน้าดินตื้น มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ หลายแห่งเป็นดินร่วนปนทราย ไม่อุ้มน้ำ ลำธารตื้นเขิน ทำให้ที่ดอนแห้งแล้ง อุณหภูฒิของดินสูง เมื่อการเกษตรแบบผสมผสานในที่ดินโดยเฉพาะระบบการปลูกพืชต้องอาศัยน้ำเป็นหลัก วามแปรปรวนในปริมาณและการกระจายของน้ำฝนจึงเป็นข้อจำกัดในการผลิตที่สำคัญ นอกเหนือไปจาก ปัญหาการระบาดของศัตรูพืช ขณะที่ความแห้งแล้งทำให้พืชอาหารสัตว์ไม่สมบูรณ์ ขาดแคลน เป็นข้อจำกัดในการเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญ การเกษตรบนที่ดอน มีทั้งกิจกรรมปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ผสมผสานอย่างกลมกลืน แต่แยกดำเนินการใช้ที่ดินตามความเหมาะสมของลักษณะการผลิต เช่น ใช้พื้นที่เป็นแอ่งปลูกข้าวนาดำ ใช้ที่เนินหรือที่มีสภาพเป็นลอนลูกคลื่นปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และพืชตระกูลถั่ว หรือปลูกไม้ผลยืนต้นผสมในแปลงพืชไร่ และใช้พื้นที่ป่าซึ่งเป็นแหล่งพืชอาหารธรรมชาติในฤดูฝนเป็นที่เลี้ยงสัตว์ แอ่งน้ำ หรือลำธารใช้เลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้ง การเกษตรแบบผสมผสานในแนวนี้จึงแตกต่างไปจากกิจกรรมที่คละกันในกรอบพื้นที่ขนาดเล็กบริเวณเดียวกัน ซึ่งมักเป็นภาพการเกษตรแบบผสมผสานพบในที่ราบลุ่มส่วนใหญ่ การที่อัตราประชากรในเมือง และความต้องการการใช้ที่ดินในทศวรรษที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้มีการขยายตัวภาคเกษตรกรรมสู่ที่ดอนโดยเกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินเกิดขึ้นตามมา เกษตรกรในที่ดอนจัดว่าอยู่ในกลุ่มของผู้ด้อยโอกาส ยากจน มีการศึกษาต่ำ ขาการดูแลสุขอนามัยของนเอง มีการจัดการ และใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของที่ดอน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ที่ดอนนั้นได้พ่วงปัญหาทั้งสภาพแวดล้อม ปัจจัยตามธรรมชาติ และปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ของเกษตรกรเองเข้าไว้ด้วยกัน ความพยายามในการพัฒนาที่ดอนอาศัยน้ำฝนจึงจะมองข้ามปัญหาข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้