รายละเอียดบทคัดย่อ


ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. 2539. ขั้นตอนการพัฒนาระบบวนเกษตรซึ่งมีไม้ผลเป็นฐานบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 11 :ระบบเกษตรกรรมเพื่อเกษตรกร สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2539 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำบีช รีสอร์ท อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี.  น.139-153.

บทคัดย่อ

         ข้อจำกัดทางด้านกายภาพของที่ดินและความแปรปรวนของฝน ทำให้แนวทางการเลือกใช้ประโยชน์ที่ดินบนที่ดอนอาศัยน้ำฝนของภาคเหนือตอนบนถูกกำจัดลงอย่างมาก การปลูกพืชพาณิชย์เชิงเดี่ยวไม่สามารถให้ผลตอบแทนอย่างมั่นคงได้ ดังนั้นรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินควรจะเปลี่ยนเป็นการผสมผสานระหว่างพืชองค์ประกอบ หรือวนเกษตรกรที่มีไม้ผลเป็นหลัก บทความนี้ได้แจกแจงแนวทางการพัฒนาการคัดเลือกชนิดไม้ผล โดยให้ความสำคัญกับเป้าหมายของการพัฒนาการคัดเลือกชนิดไม้ผล โดยใช้เกณฑ์ความสามารถในการปรับตัวและความต่อเนื่องในการผลผลิตระยะยาว การประมวลองค์ความรู้ที่มีอยู่พร้อมทั้งแจกแจงเงื่อนไขที่จะมีผลต่อการจัดการไม้ผลกับพืชไร่องค์ประกอบ กรณีศึกษาการพัฒนาระบบวนเกษตรที่มีมะม่วงเป็นองค์ประกอบหลักบนพื้นที่ปฏิรูปที่ดินโครงการป่าจอมทอง และได้แสดงผลการทดลองที่กระทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 5 ปี ให้เห็นเป็นขั้นตอนของการพัฒนา โดยเริ่มจากการคัดเลือกพันธ์มะม่วงส่งเสริมทางธุรกิจ และการคัดเลือกสานต้นที่ดีของพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีกับพื้นที่ปฏิรูปที่ดินลักษณะงานที่เป็นองค์ประกอบเพื่อตอบคำถามการพัฒนามะม่วงให้เหมาะสมกับพื้นที่ดอนดอนอาศัยน้ำฝน ประกอบด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงและการดูแลรักษา เพื่อให้มะม่วงอยู่รอดในปีที่หนึ่งเช่น การเลือกใช้อายุกล้าที่เหมาะสม การจัดการด้านปุ๋ย ปริมาณน้ำที่จำเป็นต้องให้เสริม และการคลุมโคนด้วยเศษหญ้า นอกจากนี้ได้ศึกษาชนิดของไม้กันลมที่จะลดการหักล้มของต้นมะม่วงผลงานวิจัยร่วมกับเกษตรกรอย่างต่อเนื่องนี้ ได้นำมากำหนดแนวทางการพัฒนามะม่วงที่จะให้สอดคล้องกับแต่ละสภาพแวดล้อม โดยเน้นการจัดทำแปลงคัดเลือกพันธุ์และการคัดเลือกสายต้น การถ่ายทอดวิธีการขยายพันธุ์ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อย่นเวลาการกระจายสายต้นพันธุ์ดีของพันธุ์ที่เหมาะสมในปริมาณที่มาก และเพื่อพัฒนาอาชีพทางเลือดด้านขยายพันธุ์ให้กับเกษตรกรจากกรณีตัวอย่างการพัฒนามะม่วงในระบบวนเกษตรในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินโครงการป่าจอมทอง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 7 ปี ที่จะสามารถกระจายสายต้นที่ดีของมะม่วงที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม โดยการสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่มีส่วนร่วมในการขยายพันธุ์ ทั้งนี้ด้วยการฝึกอบรมอย่างใกล้ชิด