รายละเอียดบทคัดย่อ


นงลักษณ์ สุพรรณไชยมาตย์. 2529. เกษตรกรอีสานใช้เวลาอย่างไร: กรณีศึกษาสำหรับการยอมรับเทคโนโลยีใหม่.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 3 : . ระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน 2529 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.394-406.

บทคัดย่อ

         ในปัจจุบันทุกฝ่ายต่างให้ความสนใจที่จะพัฒนาการเกษตร โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีครอบครัวเกษตรกรจำนวนมากทำการเพาะปลุก เลี้ยงสัตว์ และประกอบอาชีพอื่น ๆ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่แปรปรวนไปตามธรรมชาติ หรือกล่าวอีกในหนึ่งคือเขตที่เกษตรกรยังล้าหกลัง นักพัฒนาทั้งหลายกล่าวถึงการเกษตรในภูมิภาคนี้ว่า ยังคงมีปัญหาของประสิทธิภาพการผลิตต่ำ เพราะยังมีการว่างงานตามฤดูกาลสูงกว่าภูมิภาคอื่นของประเทศ ซึ่งประมาณการณืไว้ถึง 2.8 ล้านคน ในปี 2529 (กรมแรงงาน, 2529) นอกจากนี้ นักวิชาการยังกล่าวถึงปัญหาของการทำงานต่ำระดับของเกษตรกร ซึ่งถือเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาความยากจนและารมีรายได้ต่ำ ดังนั้น ขบวนการพัฒนาทั้งหลายจึงมุ่งที่จะปรับปรุงเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อให้มีการขยายชนิดของพืชที่ผลิต เร่งให้มีการเพาะปลูกมากกว่า 1 ครั้งต่อปี ทั้งในเขตชลประทานและเขตเกษตรน้ำฝน นอกจากนี้รัฐบาลก็มีโครงการสร้างงานในชนบทเพื่อให้มีการจ้างงานและเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง แนวนโยบายในการพัฒนาจะสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงเพียงไรนั้นย่อมมีประเด็นปัญหาที่สำคัญว่า ในขณะนี้เกษตรกรทำงานกันอย่างไร การกำหนดสาเหตุความยกจน ความด้อยประสิทธิภาพของการผลิตไปที่การงานยังไม่เต็มทของเกษตรกรตามบรรทัดฐานเช่น ภาคผลิตอื่นเหมาะสมเพียงไร เพราะหากข้อสมมุติไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในท้องที่แนวนโยบายในการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตคงจะสัมฤทธิ์ผลได้ยาก ดังนั้น รายงานฉบับนี้จึงได้นำเอาประเด็นดังกล่าวมาเป็นแนววิเคราะห์เฉพาะกรณีเพียง 2 ครอบครัว จากข้อมูล 17 ครอบครัวที่รวบรวมจากหมู่บ้านหินลาด ต. บ้านค้อ จ. ขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อจะพิจารณาประเด็นปัญหาเรื่องการว่างงานตามฤดูกาล และการทำงานต่ำระดับของเกษตรกรเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานแก่นักวิชาการที่จะศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกร