รายละเอียดบทคัดย่อ


นพพร สายัมพล. 2534. การทดลองระดับเกษตรกรเพื่อหาวิธีการปลูกและปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับแนะนำเกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่งเพื่อเก็บเกี่ยวหน่อเขียวในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.374-392.

บทคัดย่อ

         มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เริ่มทำการทดลองปลูกหน่อไม้ฝรั่งและแะนำเข้าสู่ระบบการปลูกพืชของเกษตรกร ในอำเภอบางเลน และอำเภอกำแพงแสน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2531 ตามลำดับ โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Kasetsart University, Development Oriented Research on Agraian Systems Project : KU-DORAS ได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานด้านนี้ในปี 2531 โดยมีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาวิธีการในการปลูกและดูแลรักษา ทำการทดลองให้ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่งประสบอยู่ ตลอดจนการทดลองซึ่งได้ดำเนินการในแปลงเกษตรกร นอกจากจะให้ความสนใจในลักษณะทางสรระวิทยาซึ่งเป็นแบเฉพาะของหน่อไม้ฝรั่งแล้ว ยังคำนึงถึงความแตกต่างของสภาพแวดล้อมในแปลงปลูกและข้อจำกัดในเรื่องปัจจัยการผลิต ซึ่งทำให้การปฏิบัติในแปลงปลูกของเกษตรกรแต่ละรายแตกต่างกันไปอีกด้วย การทดลองครั้งนี้ ได้แยกทำเป็น 2 ส่วน โดยการทดลองที่ 1 มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาถึงผลองอายุกล้าที่มีต่อลักษณะการเจริญเติบโตตลอดไปจนถึงประสิทธิภาพการให้ผลผลิตหน่อ ส่วนการทดลองที่ 2 เน้นการศึกษาถึงจำนวนต้นที่เหมาะสมที่ควรเหลือไว้ ระหว่างการเก็บเกี่ยว การศึกษาการเจริญเติบโตของต้นในการทดลองที่ 1 ทำโดยการติดตามวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความสูงของทุกต้นในแต่ละกอเป็นระยะ จากการสังเกตพบว่าตาที่ล้ำนใต้ดินเกิดเป็นกลุ่มและมีปฏิกิริยาต่อกันในอันที่จะยับยั้งการงอกเป็นต้นใหม่ นอกจากนี้ขนาดของตายังมีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงอีกด้วย ผลจากการทดลองทั้งสองแสดงให้เห็นว่า อายุกล้าและจำนวนต้นที่เหลือไว้ในระหว่างการเก็บเกี่ยวมีอิทธิพลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต การริเริ่มนำวิธีการทดลองระดับเกษตรกรมาใช้ในการทดลงครั้งนี้พบว่า เกษตรกรมีความสนใจติดตามสังเกตแปลงทดลองตั้งแต่เริ่มเตรียมดินไปจนถึงเก็บผลผลิต การพบเกษตรกรระหว่างการทดลอง นอกจากจะได้รับทราบความเปลี่ยนแปลงที่เกษตรกรสังเกตเห็นตลอดเวาแล้ว เกษตรกรยังนำข้อคิดเห็นจากคณะผู้ทำการวิจัย ประกอบด้วยการสังเกตเมื่อปฏิบัติงานในแปลงปลกเป็นประจำไปกระจายให้เพื่อนเกษตรกรได้รับทราบ ซึ่งกล่าวได้ว่าเกษตรกรได้ช่วยปฏิบัติหน้าที่ของนักส่งเสริมอย่างได้ผลดีและรวดเร็วที่สุด