รายละเอียดบทคัดย่อ


นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2534. ความยืนยงของระบบการเกษตรในกระแสความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.3-12.

บทคัดย่อ

         ปัญหาบางอย่างที่ท่านรู้สึกว่ามันไม่น่าจะเป็นปัญหาอาจหยิบยกมาเป็นปัญหาได้ เพราะเป็นการมองจากคนที่เรียนประวัติศาสตร์มากกว่าผู้ที่เรียนเกษตรกรรม ในฐานะที่เป็นนักเรียนประวัติศาสตร์อยากจะเริ่มต้นที่ประวัติศาสตร์ว่า ในประวัติศาสตร์การปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกคือการทำเกษตรกรรม ถ้าปราศจากจุดเริ่มต้นตรงนี้ อาจไม่มีอารยธรรมที่เรารู้จักในทุกวันนี้ก็ได้และนับจากเริ่มมีการปฏิวัติการคือการทำเกษตรกรรมนั้นตั้งแต่ในสมัยหินใหม่เป็นต้นมา จนถึงเมื่อไม่นานมานี้คนส่วนใหญ่บนโลกก็ยังชีพอยู่ด้วยการเกษตรกรรมในรูปต่าง ๆ เพื่อจะเลี้ยงชีวิตตัวเอง เป็นเวลาหลายพันปี บางแห่งเป็นหมื่นปี ตลอดเวลาที่มนุษย์ทำเกษตรกรรมตั้งแต่สมัยหินมาจนถึงเมื่อไม่นานมานี้ เราอาจจะพูดได้ว่าเกษตรกรรมนั้นเป็นเกษตรกรรมที่ยั่งยืนหรือยืนยงที่เรากำลังสนใจกันอยู่ตลอดเวลากล่าวคือมนุษย์เอาทัรัพยากรธรรมชาติมาเป็นปัจจัยในหารผลิตทางการเกษตรแต่ทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้นั้นเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหรือมีวิธีที่ใช้แล้ว ไม่ทำให้ทรัพยากรนั้นสูญสลายไปสามารถที่เวียนเอากลับมาใช้ได้ให้มีอยู่เรื่อย ๆ เวียนกลับมาใช้โดยมนุซย์หรือธรรมชาติเวียนให้ก็ตามการเก็บพันธุ์พืชเอาไว้ปลูกในฤดูต่อไป ก็เป็นการหมุนเวียนโดยมนุษย์ หรือฝนตกก็เป็นการเวียนโดยธรรมชาติ ถ้าเราดูว่าการเกษตรแบบยั่งยืนซึ่งมนุษย์ทำกันมานับหมื่นปี มีลักษณะเด่นอย่างไร คิดว่ามีลักษณะเด่นอยู่อย่าง คือ ประการแรก - เกษตรกรรมแบบนี้เป็นเกษตรกรรมที่ต้องการ input หรือสิ่งที่ต้องการใส่เข้าไป 2 อย่างด้วยกัน อย่างที่หนึ่งนั้นที่เห็นชัด คือ แรงงาน คือใส่แรงงานมนุษย์เข้าไป นั่งคือการปล่อยให้หรือทำให้สิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติเข้ามีโอกาสทำงานอย่างที่สองซึ่งอยากจะเรียกว่า input จากสิ่งแวดล้อม ให้สิ่งแวดล้อมได้มีโอกาสทำงาน และก็ตั้งในที่ใส่ปัจจัยที่เป็นสิ่งแวดล้อมลงไปในการทำเกษตรกรรม เช่นปล่อยให้ไส้เดือนมีโอกาสพรวนดิน ปล่อยให้มีป่าดงดิบอยู่หนาแน่เพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นในดิน หมายถึงการใช้น้ำโดยไม่เปลี่ยนระดับน้ำใต้ดิน เหล่านี้เป็นต้นซึ่งก็เป็น input ประเภทหนึ่งเหมือนกัน ประการที่ 2 เกษตรกรรมแบบยั่งยืนที่มนุษย์ทำขึ้น จนถึงเมื่อไม่นานมานี้นั้น อยากจะกล่าวถึงไว้ก็คือว่า เมื่อคนส่วนใหญ่ยังชีพด้วยการเกษตรกรรม เกือบทั้งนั้นผลผลิตของเกษตรกรรมซึ่งเขาทำนั้นมุ่งไว้เพื่อจะเลี้ยงคนจำนวนไม่มากเท่าไหร่นัก เพราะไม่รู้ว่าจะผลิตมาก ๆ เกินไม่ทำไมเพราะผู้อื่นเขาก็ทำเหมือนกัน เพราะฉะนั้นหน่วยการผลิตและหน่วยการบริโภคจะค่อนข้างเล็กถ้าเป็นในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย หรือแม้ในรัสเซียในจีน หน่วยการผลิตและบริโภคก็คือ ที่เรียกว่า Agrarian systems ผืนที่นาที่มีปราสาทเป็นศูนย์กลางและมีระบบการผลิตภายในผืนที่นาขนาดใหญ่นั้น จำนวนประชากรขนาดใหญ่ที่อยู่ในผืนที่นาในหนึ่ง system หรือหนึ่งระบบนั้นไม่ได้มากมายเท่าไหร่นัก เราเรียกระบบการเกษตรกรรมแบบนับว่าเป็น ระบบการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง เพื่อยังชีพหรือว่าพึ่งตนเองก็ตามแต่ ก็เป็นที่รู้จักโดยทั่ง ๆ ไปอยู่แล้วส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์นั้นตั้งแต่ทำเกษตรกรรมมมจนเมื่อไม่นานมานี้ ส่วนใหญ่มนุษย์ก็อยู่ในการผลิตเพื่อเลี้ยงตนเองหรือเพื่อยังชีพทั้งนั้น