รายละเอียดบทคัดย่อ


นิรันดร์ ทองพันธุ์, เรืองชัย คงศรี, บรรลือ พรหมศรี และ J. D. Sollows. 2531. การเลี้ยงปลาในนาข้าว จ. อุบลราชธานี.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 5 : . ระหว่างวันที่ 4-7 เมษายน 2531 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.  น.166-174.

บทคัดย่อ

         การทดสอบการเลี้ยงปลาในนาข้าว เป็นกิจกรรมหนึ่งในระบบการทำฟาร์มของเกษตรกร ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะรับผลดีแก่เกษตรกรที่มีกิจกรรมการพัฒนาเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรายย่อยในเขตเกษตรใช้น้ำฝนที่มีสภาพทางธรรมชาติแปรปรวนสูง มีทรัพยากรอันจำกัด และความเป็นอยู่ขาดอาหารโปรตีนเพื่อบริโภค การเลี้ยงปลาในนาข้าว เป็นกิจกรรมที่น่าแก้ไขปัญหาพื้นฐานด้านคุณภาพชีวิต เสริมความเป็นอยู่ให้เกษตรกรรายย่อยมีสภาพที่ดีขึ้น จากการลงทุนต่ำ และมีความเสี่ยงน้อย โดยผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นระหว่างกิจกรรมที่ทำลงไปนั้น เกิดขึ้นเองโดยทางธรรมชาติเป็นผลบวก (Synergistic effect) ซึ่งจากการทดสอบการเลี้ยงปลาในนาข้าว โดยการปล่อยปลาลงในแปลงนา 3 ชนิดรวมกัน คือ ปลานิล: ปลาไน: ปลาตะเพียน ขนาด 3-5 เซนติเมตร อัตราส่วน 1:2:2 จำนวนปล่อย 600 ตัวต่อไร่ โดยมีระยะการเลี้ยงในนาดำตั้งแต่การปักดำ จนถึงการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 5-6 เดือน แล้วจะได้ผลผลิตปลาเฉลี่ยรวม 30 กก./ ไร่ ร่วมกับหารปลูกข้าวเหนียวสันป่าตอง หรือกข. 6 หรือ ขาวดอกมะลิ 105 หรือเหลืองบุญมา โดยที่ผลผลิตข้าวจะได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ซึ่งเมื่อคิดเป็นรายได้รวมเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่เลี้ยงปลาแล้ว จะได้รายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 735 บาทต่อไร่