รายละเอียดบทคัดย่อ


นุกูล ทองทวี. 2527. โครงการชลประทานขนาดเล็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับการวิจัยและพัฒนาระบบการทำฟาร์ม.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 1 : . ระหว่างวันที่ 2-5 เมษายน 2527 ณ โรงแรมวังใต้ จ.สุราษฎร์ธานี.  น.61-70.

บทคัดย่อ

         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 104.5 ล้านไร่ แบ่งเป็น 3 ลุ่มน้ำใหญ่ คือ ลุ่มน้ำโขง อยู่ตอนบน ลุ่มน้ำชี อยู่ตอนกลา และลุ่มน้ำมูล อยู่ตอนใต้ของภาค ฝนเฉลี่ยทางด้านตะวันตกของภาค ประมาณ 1,100 มม. และเพิ่มมากขึ้นปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่จะต่ำกว่า 1,00 มม. นอกจากบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง บึกกาฬ บ้านแพสูงถึง 1,800-2,500 มม. แต่ความผันแปรมีค่าถึงร้อยละ 35-45 สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ปริมาณน้ำในฤดูฝนระหว่างพฤษภาคม - ตุลาคม ปริมาณฝนในช่วงนี้มีประมาณร้อยละ 85-90 ของปริมาณฝนทั้งปี บริเวณต้นน้ำชี ต้นน้ำมูล และตอนกลางของภาคจะต่ำกว่า 1,100 มม. ซึ่มักจะขาดแลน้ำตอนต้นฤดูทำนา ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคญต่อการเกษตรกรรม ส่วนในเดือนสิงหาคมและกันยายนฝนจะตกชุกมาก เนื่องจากได้รับฝนจากพายุหมุนจึงทำให้เกิดน้ำท่วมในที่ราบลุ่ม (ทาม) ริมลำน้ำสายใหญ่ การขาดแลนน้ำอุปโภค บริโภค จากการสำรวจของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช) ในช่วงปี พ.ศ. 2512-2519 พบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการขุดสระเก็บน้ำฝนไว้ใช้ทั่วไป สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กมาก ที่เรียกว่า ฝายนา การเก็บกักน้ำที่บ่าลันตลิ่งไว้ใช้ ตามหนองบึง กุด ที่ราบลุ่ม ริมลำน้ำ สายใหญ่ การสร้างเหมืองฝายของหมู่บ้านใกล้ภูเขา และการสร้างอ่างเก็บน้ำตามเมืองโบราณหลายแห่ง ส่วนน้ำดื่มมักใช้บ่อน้ำตื้น ซึ่งอยู่ห่างไกลหมู่บ้านเป็นส่วนใหญ่ การพัฒนาแหล่งน้ำ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 กรมชลประทานได้สร้างโครงการทดน้ำและส่งน้ำ 5 โครงการ และโครงการป้องกันอุทกภัย 3 โครงการ จนภายหลังสงคามโลกครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2494 ได้เริ่มก่อสร้างอ่างเก็บน้ำกระจายทั่วภาค โดยให้ทางสหกรณ์รับงานด้านขุดคลอง แต่ภายหลังปรากฎว่างานขุดคลองไม่ได้ผล ในปี 2499 กรมชลประทานได้รับงานก่อสร้างระบบส่งน้ำมาดำเนินงานเอง อ่างเก็บน้ำขนาดกลางเหล่านี้ได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว 158 อ่าง เพื่ออุปโภคบริโภค 30 อ่าง เก็บน้ำได้ประมาณ 15 ล้าน ม. เพื่อการเพาะปลูกด้วย 128 อ่าง เก็บน้ำได้ 502 ล้าน ม. ช่วยการเพาะปลูกได้ประมาณ 459,900 ไร่ นอกจากนี้ได้มีการพัฒนาแห่งน้ำขนาดใหญ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 อีก 7 โครงการ รวมความจุน้ำเก็บกักใช้งานประมาณ 4,833 ล้าน ม. และจะสามารถส่งน้ำแก่พื้นที่ชลประทาน 1,193,300 ไร่ โครงการขนาดใหญ่และขนาดกลาง การศึกษาข้อมูล การสำรวจ ออกแบบ ต้องใช้เวลาพอสมควร นอกจากนั้นยังต้องเวณคืนที่ดินจากราษฎรในบริเวณอ่างเก็บน้ำ หัวงาน และบริเวณที่คลองจะผ่าน ปัญหาดังกล่าวทำให้การก่อสร้างโครงการขนาดใญ่และขนาดกลางต้องใช้ระยะเวลาดำเนินงานนาน เพื่อกระจายการพฒนาไปสู่ชนบทให้รวดเร็วและทั่วถึง รัฐบาลได้เริ่มโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กนับแต่ปี 2520 เป็นต้นมา งานนี้ปัจจุบันดำนเนิการโดยหลายหน่ยราชการ ซึ่งมีลักษณะงานค่อนข้างจะคล้ายคลึงกัน แต่มีขนาดแตกต่างกันตามขีดความสามารถทางวิชาการและอัตรากำลังของหน่วยงานนั้น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาน้ำให้เพียงพอแก่ความต้องการขั้นพื้นฐาน และยกฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชนนั้น ๆ ราษฎรต้องยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อการก่อสร้างโครงการ ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษประการสำคัญที่แตกต่างกับการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ดังนั้น จึงทำให้โครงการขนาดเล็กสามารถเริ่มงานได้ในระยะเวลาอันสั้น และก่อสร้างเสร็จภายใน 1 ปี ปัญหาการใช้น้ำจากแหล่งน้ำขนาดเล็กที่สำคัญยิ่งคือ ปริมาณน้ำมีจำกัด ทำอย่างไรจึงจะใช้ให้ได้ประโยน์สูงสุดและทั่วถึง นอกจากนั้น ขณะนี้ปรากฎว่าแหล่งน้ำขนาดเล็กไม่ได้รับการเอาใจใส่ บำรุงรักษาจากเกษตรกรเท่าที่ควร จึงเป็นปัญหาที่ต้องหยิบยกขึ้นมาหาทางแก้ไขโดยด่วน