รายละเอียดบทคัดย่อ


ประจง สุดโต. 2534. การขยายผลการทดสอบในวงกว้าง.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.425-436.

บทคัดย่อ

         ก่อนขยายผลทดสอบสู่ขั้นการผลิตแปลงใหญ่ (Production Program) จำเป็นจะต้องทดสอบเทคโนโลยีหลาย ๆ ครั้ง จนเกิดความมั่นใจว่าผลการทดลองหรือระบบการทดลองที่นำไปปฏิบัติ ในไร่นาเกษตรมีความั่นคงทั้งด้านผลผลิตและายได้ โดยการนำผลการทดลองไปทดสอบในหลาย ๆ พื้นที่ที่มีลักษณะสภาพแวดล้อมของพื้นที่ใกล้เคียงกัน เพื่อยืนยันผลการทดสอบ (Multilocaiton testing) ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและได้ขยายผลไปสู่ขั้นตอนต่างพื้นที่ละเกษตรกรยอมรับนำไปปฏิบัติในวงกว้าง คือ- การขยายผลการปลูกพืช ถั่วเหลือง - ถั่วเหลืองในเขตใช้น้ำฝน จังหวัดตาก ในปี 2531-2532 มีเกษตรกรร่วมโครงการ 4 ราย และใน 2533 มีเกษตรกรร่วมโครงการ 36 ราย เกษตรกรมีรายได้เหนือต้นทุนผันแปรทั้งระบบเฉี่ยในแต่ละป เป็นเงิน 2,900, 2,604 และ 2,707 บาท/ไร่ ตามลำดับ- การขยายผลการทดสอบข้าวฟ่างดงพันธุ์สุพรรณบุรี 60 เป็นพืชที่สองในสภาพไนาเกษตรกร จังหวัดนครราชสีมาจากเกษตรกร จำนวน 81 ราย ในปี 2532 เกษตรกรมีรายได้เหนือต้นทุนผันแปรทั้งระบบ (ข้าวโพด-ข้าวฟ่าง) เป็นเงิน 594 บาท/ไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกมันสำปะหลังอย่างเดียว ซึ่งได้ 400 บาท/ไร่- การปลูกข้าวฟ่างแดงแซมถั่วหลืองในเขตใช้น้ำฝน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ระหว่างปี 2531-2532 เกษตรกรได้รับผลตอบแทนทั้งระบบ 1,404 บาท/ไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกถั่วเหลืองอย่างเดียว ซึ่งได้ 1,070 บาท/ไร่- การวิจัยและการพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในพื้นที่เป้าหมาย โครงการกระจายการผลิตในระดับไร่นา ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี 2531/2532 มีเกษตรกรร่วมโครงการ 64 ราย เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 31,361 บาท จากการเลี้ยงไหม เฉลี่ย 33 กล่อง/ปี 69,552 บาท จากการเลี้ยงไหมเฉลี่ย 56 กล่อง/ปี และ 113,346 บาท จากการเลี้ยงไหมเฉลี่ย 101 กล่อง/ปี ตามลำดับ- โครงการเลี้ยงปลาในนาข้าว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ปลานิล ปลาไน และปลาตะเพียน จำนวน 600-1,200 ตัว/ไร่ เกษตรกรได้ผลผลิตปลาระหว่าง 127-57 กก./ไร่ ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 - 36.3%