รายละเอียดบทคัดย่อ


ปัญจพล บุญชู และ ฉลอง มณีกุล. 2533. การใช้วิทยาการแผนใหม่ในระบบนาปี: กรณีข้าวขาวดอกมะลิ 105.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.321-336.

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้วิทยาการแผ่นใหม่สำหรับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบนาปี ที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยเน้นศึกษาระดับการใช้วิทยาการของเกษตรกรรมทั้งศึกษาปัญหาในทางปฏิบัติและเหตุผลที่เกษตรกรไม่นำวิทยาการที่ได้รับการส่งเสริมไปปฏิบัติในการศึกษาครั้งนี้วิทยาการหมายรวมถึงการใช้รถไถชนิดเดินตามเตรียมดิน การปลูกข้าวโดยวิธีหว่านน้ำต้มการกำจัดวัชพืช การใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ข้อมูลที่ได้โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 53 ราย ระดับการยอมรับวิทยาการของเกษตรกรวัดโดยดัชนีการใช้วิทยาการแผนใหม่ พบว่าเกษตรกรที่นำคำแนะนำจากการส่งเสริมไปใช้ในการปลูกข้าวขาวมะลิดอกมะลิ 105 มากเพียงมีประมาณร้อยละ 22.6 เท่านั้น ใช้ปานกลางมีร้อยละ 30.2 และใช้น้อยมีร้อยละ 47.2 ปัญหาในทางปฏิบัติที่เกษตรกรประสพและเหตุผลที่เกษตรกรไม่ปลูกข้าวพันธุ์นี้โดยวิธีหว่านน้ำตมเพราะพื้นที่ลาดเอียง และไม่มีความคุ้นเคยกับการปลูกข้าวนาปีโดยวิธีหว่านน้ำตม เกษตรกรส่วนใหญ่ปุ๋ยเคมีและใช้สูตร 16 - 20 - 0 อัตรา 11 กิโลกรัมต่อไร่ มีเกษตรกรเพียงจำนวนน้อยใช้ปุ๋ยสูตร 16 - 20 - 0 ควรคู่กับปุ๋ยยูเรีย ลักษณะการใส่ปุ๋ยมีสองลักษณะคือใส่เพียงครั้งเดียวหลังวันปักดำ อีกลักษณะหนึ่งใส่หลังวันปักดำ และใส่เสื้ออีกครั้งเมื่อต้นข้าวตั้งท้องมีเกษตรกรเพียงจำนวนนน้อยใช้ยาฆ่มแมลงและกำจัดวัชพืช โดยให้เหตุผลว่าปัญหาแมลงทำลายและวัชพืชไม่มีความรุนแรง เกษตรกรที่ปลูกข้าวมะลิ 105 โดยวิธีปักดำและวิธีหว่านน้ำตมนั้นใช้วิทยาการมากกว่าพวกที่ปลูกข้าวโดยวิธีหว่านแห้ง ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องจากว่าเกษตรกรที่ปลูกข้าวด้วยวิธีหว่านแห้ง ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เพื่อการทดลองพันธุ์เท่านั้น จึงไม่เอาใจใส่และดูแลอย่างจริงจัง เกษตรกรที่ใช้วิทยาการเพียงเล็กน้อยในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิมีลักษณะตรงกันข้ามกับเกษตรกรที่ใช้วิทยาการระดับสูง คือเกษตรกรที่ใช้วิทยาการน้อยเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างยากจนและยึดถือเอาเพื่อนบ้านเป็นแหล่งข้อมูลทางการเกษตร ในขณะที่เกษตรกรกลุ่มที่ใช้วิทยาการมากเป็นเกษตรกรที่มีฐานะดี และมีความตืนตัวในการติตตามข่าวสารการเกษตรจากแหล่งของราชการและสื่อมวลชนในท้องถิ่น ปัจจัยที่มีความัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเตรียมดินโดยรถไถเดินตามการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และการควบคุมวัชพืช คือการเป็นเจ้าของรถไถ การไปชมแปลงสาธิต ความมีฐานะทางเศรษฐกิจดี และการติดตามข่าวการเกษตรจากสื่อมวลชนอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ในรายงานฉบับนี้ยังได้เสนอกรณ๊ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของเกษตรกรสามประเภท คือ ประเภทที่ใช้เทคโนโลยีน้อย ปานกลาง และมากอีกด้วย ผลจากการวิจัยนี้ไม่ใช่เป็นสิ่งค้นพบใหม่ แต่เป็นพฤติกรรมการตอบสนองต่อเทคโนโลยีของเกษตรกรที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่การวิจัยครั้งนี้จะชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างไม่ตรงกับความต้องการของเกษตรกกรและไม่สอดคล้องกับสภาพระบบไร่นาของเกษตรกรนั้นจะมีเกษตรกรเพียงจำนวนน้อยนำไปทดลองปฏิบัติ คือเกษตรกรจะไม่นำไปปฏิบัติอย่างถาวรปัญหาดังกล่าวนี้อาจเบาบางลงได้ หากใช้หลักการวิจัยระบบการทำฟาร์มและเลือกสรรเทคโนโลยี่จะนำไปส่งเสริมให้แก่เกษตกร แต่อย่างไรก็ตามหลักการวิจัยระบบการทำฟาร์มไม่อาจจะแก้ปัญหาการยอมรับเทคโนโลยีได้อย่างสมบูรณ์ เพราะการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกรนั้นมีปัจจัยอีกหลายประการที่เข้ามามีอิทธิพล