รายละเอียดบทคัดย่อ


มณฑล จำเริญพฤกษ์. 2534. บทบาทของต้นไม้ในระบบวนเกษตร.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.207-220.

บทคัดย่อ

         เป็นที่ตระหนักกันดีว่า ในสถานการณ์ป่าไม้ปัจจุบัน พื้นที่ป่าไม้ที่มีอยู่ได้ลดน้อยถอยลงมาตามลำดับ จนกระทั่งเหลือไม่ถึง 28 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศแล้วขณะนี้ เป้าหมายในนโยบายป่าไม้แห่งชาตินั้น ถือการมีพื้นที่ป่าไม้ไว้ให้ได้ 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนโยบายจะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อยุทธวิธีสามประการประสบผลสำเร็จแล้วเท่านั้น ได้แก่ การหยุดยั้งการขยายตัวของการใช้ที่ดินภาคเกษตรกรรม ลดพื้นที่เกษตรกรรมในป่าสงวนแห่งชาติ และการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมด้วยการปลูกสร้างสวนป่า ในการหยุดยั้งการขยายตัวของระบบการใช้ที่ดินภาคเกษตรกรรมนั้นก็คือ การส่งเสรมให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรเชิงอนักษ์ เพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ และยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรที่อาศัยพื้นที่ป่าสงวนเป็นที่ทำกินในขณะนี้ ในเมื่อนโยบายของรับาลมีที่าผ่อนปรน ไม่สามารถจัดหาที่ทำกินที่เหมาะสมนอกเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ ก็ควรส่งเสริมให้ราษฎรได้ทำกินในรูปแบบที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง มีผลในแง่การอนุรักษ์ดินและน้ำเช่นเดียวกับการมีป่าไม้ปกคลุม ซึ่งจะทำให้การขยายตัวบุกรุกไปยังที่ป่าอื่น ๆ หยุดหรือลดลง ระบบวนเกษตรเป็นะบบการใช้ที่ดินที่ได้รับความเชื่อมั่นว่าจะก่อให้เกิดถาวรภาพทั้งในเชิงเศรษฐกิจและนิเวศวิทยา เป็นระบบการใช้ที่ดินซึ่งผสานการปลูกต้นไม้และการปลูกพืชเกษตร หรือเลี้ยงสัตว์ไว้อย่างกลมกลืนกัน ปัญหาที่มักประสบในการนำระบบวนเกษตรปใช้ในขณะนี้คือ ปัญหาด้านการปฏิบัติ การเลือกชนิดต้นไม้เพื่อนำไปปลูกให้ถูกต้องตามความต้องการ การเลือกรูปแบบการปลูกให้เหมาะสมสำหรับพื้นที่ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้จะค่อย ๆ หมดไป หากบุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับผู้วางนโยบาย ผู้ส่งเสริม และเกษตรกร เข้าใจบทบาทที่แท้จริงของต้นไม้ในระบบและวิธีจัดการที่ทำให้ต้นไม้นั้นสำแดงบทบาทที่ต้องการ รายงานฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ นำเสนอบทบาทของต้นไม้ในแง่มุมต่าง ๆ ในระบบวนเกษตร ซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้ที่ดินอย่างมีถาวรภาพ