รายละเอียดบทคัดย่อ


รัศมี คีรีทวีป และ พูลสวัสดิ์ อาจละกะ. 2534. ระบบการทำฟาร์มผสมผสาน.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.112-123.

บทคัดย่อ

         ในสภาพการเกษตรของเกษตรกรส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นระบบการเกษตรที่ทำนา และทำไร่เป็นส่วนใหญ่ซึ่งการดำเนินกิจกรรมหลักเหล่านี้ได้มีความเสี่ยงเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่นด้านความไม่แน่นอนของราคาผลิตผล ด้ายความแปรปรวนของสภาพลมฟ้าอากาศด้านการระบาดและทำลายของศัตรูพืช ด้านการเกิดชะล้างพันทะลายและการเสื่อมคุณภาพของดิน ด้านการขาดแคลนอาหารบริโภคด้านการว่างงานรวมทั้งการเคลื่อนย้ายแรงงานสูง ดันนั้นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวสถาบันวิจัยการทำฟาร์ม กรมวิชาการเกษตร จึงได้ดำเนินการวิจัย ระบบการทำฟาร์มผสมผสานขึ้นทั้งในเขตเกษตรใช้น้ำฝนและเขตชลประทาน ซึ่งอยู่ในพื้นที่เกษตรกรและในพื้นที่เป้าหมายเฉพาะกิจ ผลการวิจัยพบว่ากิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมในระบบการทำฟาร์มผสมผสานในแต่ละสภาพท้องถิ่นนั้นจะมีความแตกต่างกันไปทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม โดยทั่วไปแล้วกิจกรรมต่าง ๆ ในฟาร์มจะประกอบด้วยกิจกรรมหลักคือการปลูกพืชหลักเช่น ข้าว ข้าวโพด กิจกรรมรองได้แก การแปรสภาพพื้นที่ไปปลูกไม้ผล ขุดบ่อเลี้ยงปลา และกิจกรรมเสริม ได้แก่ การปลูกพืชผัก พืชล้มลุกแซมในระหว่างแถวไม้ผลหรือบนคันขอบบ่อ รวมทั้งการเลี้ยงเป็ด ไก่ สุกร โดยใช้เศษเหลือวัสดุภายในฟาร์ม