รายละเอียดบทคัดย่อ


ลักษมี วรชัย และ แสงเดือน สรงประภา. 2534. ผลกระทบของการขายที่ดินต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในที่ราบลุ่มเชียงใหม่.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 8 :สู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน . ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2534 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่.  น.485-516.

บทคัดย่อ

         ที่ดินเป็นทรัพยากรพื้นฐานอันสำคัญในการผลิตทางเกษตร ที่ดินนอกจากจะเป็นปัจจัยการผลิตปัจจัยหนึ่งแล้ว ก็ยังเป็นพื้นฐานของผลประโยชน์ต่าง ๆ รวมทั้งอำนาจทางเศรษฐกิจสังคม และการเมืองตลอดจนเป็นสิ่งนำไปสูงการได้ซึ่งสินเชื่อเพื่อการลงทุน สำหรับปัจจัยบุคคลนั้นที่ดินยังเป็นหลักฐานความมั่นคง และเป็นที่ตั้งถิ่นฐานครัวเรือน โดยหลักเศรษฐศาสตร์ทรัพยากร ที่ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีปริมาณจำกัด ทว่าพื้นที่แต่ละบริเวณมีสภาพแวดล้อมทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตประกอบกันเป็นสภาวะแวดล้อมด้านชีวกายภาพ ด้านสังคมเศรษฐกิจ และด้านนามธรรม (เช่น กฎหมาย ระเบียบ วัฒนธรรม ) ที่ตางกัน ซึ่งย่อมหมายความว่าพื้นที่แต่ละบริเวณอาจจะต่างในเง่สมรรถนะการใขช้ประโยชน์ที่ดิน และต่างกันในแง่ศักยภาพ ที่จะพัฒนาด้วยปัจจัยทางเกษตร ให้เป็นพื้นที่เกษตรที่มีระดับผลิตภาพเป็นที่น่าพอใจ หรือจะพัฒนาด้วยปัจจัยโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น เส้นทางคมนาคม สิ่งปลูกสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรรม แหล่งชุมชน หรือศูนย์การตลาด เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเจริญเติบโตในทางเศรษฐกิจต่อไป ในขณะที่สสมรระนะของการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละบริเวณขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสภาวะแวดล้อมทางชีวกายภาพเป็นสำคัญ ศักยภาพของการพัฒนาพื้นที่แต่ละแห่งจะขึ้นอู่กับเงื่อนไขอันได้แก่ โอกาสและข้อจำกัดของสภาวะแวดล้อมทางด้านชีวกายภาพ สังคม-เศรษฐกิจ และนามธรรม ดังนั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินซึงเป็นทรัยการที่จัดในเชิงปริมาณให้ดีที่สุด โดยให้เป็นไปตามสมรรถนะนั้นอาจจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากมีอิทธิพลของสภาวะแวดล้อมทางสังคม-เศรษฐกิจ และนามธรรม เข้ามามีส่วนประกอบ ทำให้ศักภาพของการพัฒนาพื้นที่ไม่สอดคล้องกับสมรรถนะตามธรรมชาติของที่ดิน ผลการศึกษาครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลและโอกาสทางด้านสังคม-เศรษฐกิจ และนามธรรมในพื้นที่ตามกรณีศึกษานี้ได้สร้างศักยภาพในทั้งที่ไม่สนับสนุนการพัฒนาการเกษตร และการใช้ประโยชน์ที่ดินตามสมรรถนะอีกต่อไป