รายละเอียดบทคัดย่อ


วีระศักดิ์ สุวรรณศักดิ์. 2533. องค์กรกับงานส่งเสริมระบบการทำฟาร์ม กรณีศึกษาบ้านเกาะมุกต์ ตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม ครั้งที่ 7 : . ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2533 ณ โรงแรมวังใต้ จ. สุราษฎร์ธานี.  น.624-643.

บทคัดย่อ

         จากแนวคิดที่ว่า เป้าหมายงานส่งเสริมการจัดการฟาร์ม สูงสุดอยู่ที่ 'เกษตรกรพึ่งตนเองได้' บนพื้นฐานความพยายามทำความเข้าใจสังคม, เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยีด้วยตนเองเพื่อที่สร้างเสริมต่อและพัฒนาจาก ศักยภาพ ความสามารถ ภูมิปัญญาพื้นฐาน ที่อยู่เดิม หรือสืบทอดกันมา ด้วยวิธีการสร้างอง์กรของชุมชนและสร้างผู้นำองค์กรในชุมชนให้เกิดขึ้นเสียก่อนเพื่อให้กิจกรรมขององค์กรสามารถพัฒนาการเรียนรู้ที่ตนเองและชุมชนของตน และเมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นมาในชุมชน องค์กรย่อมแสวงหาทาแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง อย่างมั่นใจตลอดไป องค์กรของเกษตรกรบ้านเกาะมุกต์ เริ่มในปี 2529 จากผู้นำ 3 - 4 คนร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์หมู่บ้านด้วยตนเอง จนสรุปได้ว่า เกิดเหตุการณ์วิกฤติในหมู่บ้านหลายประเด็น อาทิเช่น การอพยพทิ้งไร่นา ขายไปที่ประกอบอาชีพรับจ้างเพราะทำนาไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากขาดน้ำไม่มีระบบชลประทาน หนุ่มสาวเริ่มออกจากหมู่บ้านจากครอบครัว เป็นหนี้ ธกส. และสหกรณ์ เมื่อสรุปได้ก็เชิญเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกาตรเข้าร่วมและเปลี่ยนประสบการณ์ 3 - 4 ครั้ง เพื่อกระจายความคิดให้แพร่หลาย จนกระทั่งพร้อมใจกันจัดตั้งองค์กรในชุมชน โดยเริ่มต้นจาก กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมออมทรัพย์ สมาชิก 65 คน กิจกรรมที่ 2 ขุดบ่อเลี้ยงปลาประจำบ้านให้แก่สมาชิก 33 บ่อ มีสมาชิกเพิ่มขึ้น เป็น 102 คน 102 บ่อ กิจกรรมที่ 3 ผสมเทียมโคเนื้อลูกผสม มีลูกโคเกิดในกลุ่มนี้ 32 ตัว กิจกรรมที่ 4 จัดตั้งร้านค้าหมู่บ้านบริการสมาชิก ยอดขายเฉลี่ยเดือนละ 50,000 บาท กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในที่ดอนเพื่อลดความเสี่ยงในการทำนาแต่ เพียงอย่างเดียว กิจกรรมที่ 6 จัดหาพื้นที่ทำกิจให้สมาชิกที่ยากจน กิจกรรมที่ 7 ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้แก่สมาชิก กิจกรรมที่ 8 รับซื้อผลผลิต แปรรูป (ซื้อข้าว ตั้งโรงสีหมู่บ้าน ขายผลผลิตข้าวในชุมชน สวนยาง) กิจกรรมที่ 6 - 8 กำลังอยู่ในระหว่างการประสานงาน ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้น 200 คน จุดเด่นขององค์กร - วิเคราะห์สถานการณ์ หาปัญหาได้ด้วยตนเอง - ร่วมกันเสนอทางเลือกในการพัฒนา และทำกิจกรรมตามที่วางแผนได้ทุกกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ - ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เป็นอย่างดีบนพื้นฐานการพึ่งตนเองทางความคิดและเสมอภาค - มีกิจกรรมต่อเนื่อง จากกิจกรรมหนึ่งโยงสู่กิจกรรมอื่นได้ - รับใช้สมาชิกได้ทั่วถึง ยุติธรรม วัดได้จากจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ - องค์กรเติบโตขึ้น - วัดผลจากจำนวนเงินทุน - เงินปันผลปลายปี - จำนวนสมาชิก - นำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาองค์กร - สร้างผู้นำในชุมชนที่มีอุดมการณ์ที่จะรับใช้ชุมชนองค์กรกับบทบาทเจ้าหน้าที่ส่งเสริม - เมื่อมีองค์กรรองรับในชุมชน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรก็สามารถเก็บข้อมูลวิเคราะห์ชุมชนได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว รู้ปัญหา และแนวทางแก้ไข ตรงกับความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริง - เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสามารถจัดทำแผนปฏิบัติงาน สนับสนุนทรัพยากรงบประมาณโครงการให้แก่องค์กรในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ - ก่อให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพแก่องค์กรของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะเกิดแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่เกิดจิตสำนึกลงทำงานในหมู่บ้านด้วยอุดมการณ์ทีรับใช้ประชาชนอย่างแท้จริงมากว่าที่จะทำงานเพื่อตนเองและองค์กรของตนอย่างเช่นปัจจุบันวิธีการศึกษา ผู้ศึกษาใช้วิธีการศึกษาแนววัฒนธรรมชุมชนเป็นการร่วมคิดร่วมทำร่วมศึกษาเรียนรู้ไปพร้อมกับชาวบ้าน ผลงานที่เกิดขึ้นก็จะเป็นประโยชน์แก่ชาวบ้านผลการศึกษา และจะเป็นบทสรุปของหมู่บ้าน และผู้ศึกษาเองก็สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการทำงาน ชุมชนอื่น ๆ ต่อไปเมื่อมีการโยกย้าย ตามวาระของข้าราชการ วิธีดังกล่าว 1. ลงไปสู่เกษตรกร เป็นการลงไปหาถึงตัวเกษตรกรถึงบ้านเรือนและไร่นา 2. อาศัยอยู่ท่ามกลางเกษตรกร ปฏิบัติงานเหมือนกับชาวบ้าน ไม่ว่าเรื่องกินนอนอยู่ร่วมกันในบางโอกาสเพื่อสร้างความไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน อันจะมีผลให้ได้ข้อมูล ที่ลึกซึ้งอย่างแท้จริง ผู้ศึกษาเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกับชาวบ้าน ได้แม้กระทั่งไปล่ามวัว ควาย หรือไปทอดแห หาปลาด้วยกัน การเก็บข้อมูลวิธีออกแบบสอบถาม แล้วลงไปนั่งซักถาม จะได้ข้อมูลเพียงตื้น ๆ เท่านั้น 3. เรียนรู้จากเกษตรกร ข้อมูลทุก ๆ ด้านของหมู่บ้าน ชาวบ้านจะซึมซาบได้เป็นอย่างดี เพราะรับรู้มาตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว ฉะนั้น การแลกเปลี่ยน ข้อมูลซึ่งกันและกันระหว่างชาวบ้านกับผู้ศึกษา จึงแสดงถึงการยกย่องในภูมิปัญญาของกันและกัน การมีส่วนร่วมจึงมีอยู่ในขบวน 4. วางแผนงานร่วมกับเกษตรกร ในการดำเนินกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งขององค์กรชาวบ้าน หากเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีโอกาสได้ร่วมวางแผนด้วยแล้ว จิตสำนึกที่จะรับผิดชอบต่อกิจกรรมนั้น ก็จะค่อย ๆ ก่อตัวเกิดขึ้นกับทุก ๆ คน ที่มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาจนถึงขั้นตระหนักในปัญหาและรูปแบบที่ชาวบ้าน ได้กำหนดเสียเองย่อมตรงตามความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริงมากกว่ารูปแบบสำร็จรูปที่บุคคลภายนอกนำไปให้ 5. ทำงานร่วมกับชาวบ้าน การได้ทำงานร่วมกันเป็นการฝึกการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชุมชน ลักษณะของกิจกรรมในชุใชนที่สร้างขึ้นก็เพื่อให้คนในชุใชนได้ร่วมกันทำก็เป็นเพียง 'สื่อ' ในการพัฒนาคนในชุมชนนั่นเอง ผลสำเร็จอาจจะไม่ได้อยู่ที่ขนาดของกิจกรรมที่เติบโตขึ้น แต่ความสำเร็จอยู่ที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้กระจายให้ทุกแก่ทุกคนทั่งถึงมูลค่าทางสังคมย่อมจะมากกว่าเช่นกัน 6. เริ่มต้นจากสิ่งที่เกษตรกรมีอยู่ เป็นการยอมรับถึงภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งเป็นสำคัญที่ผู้ศึกษา การพัฒนาชนบทจะต้องเตรียมระบบคิดของตนเองให้ชัดเจนเสียก่อนลงทำงานเพราะงานพัฒนาชนบทไม่ได้เริ่มจากศูนย์ แต่จะต้องเริ่มจากสิ่งที่เกษตรกรมีอยู่เดิม เช่น วัฒนธรรมประเพณีเทคโนโลยีชาวบ้าน กายภาพ ชีวภาพ ของหมู่บ้านซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาต้องมีความเข้าใจลึกซึ้งพอสาควรซึ่งเป็นการพัฒนาเพียงเพื่อดเข้าไปเสริมศักยภาพ ของชุมชนเท่านั้นงานส่งเสริมการเกษตรที่ถูกกำหนดจากคนนอกชุมชนโดยที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมนั้น ย่อมไม่ตอบสนองตามความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง